ความต้องการแคลเซียมแต่ละวันในช่วงวัยความต้องการแคลเซียมแต่ละวันในช่วงวัยความต้องการแคลเซียมแต่ละวันในช่วงวัยความต้องการแคลเซียมแต่ละวันในช่วงวัย
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย

ความต้องการแคลเซียมแต่ละวันในช่วงวัย

 


เชื่อว่าทุกคนคงรู้ถึงคุณประโยชน์ของแคลเซียมเป็นอย่างดีแล้ว ว่ามีผลดีต่อร่างกายที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเมื่อเร็ว ๆ นี้มีงานวิจัยที่พบว่า แคลเซียมสามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อโรคความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือนและมะเร็งลำไส้ แต่คนส่วนน้อยมักละเลยว่า การได้รับแคลเซียมต่อวันนั้นย่อมต้องคำนึงถึงวัยเป็นสำคัญด้วย ดังนั้นจึงมีข้อมูลมานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ

วัยเด็ก

เด็ก ๆ ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสมแคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้าแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูก และความหนาแน่นของกระดูกต่ำเป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อน หรือโรคกระดูกค่อมงอได้

สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภคให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้

วัยหนุ่มสาว

จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วงอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับแคลเซียมที่ต้องการ เพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติ ก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

หญิงตั้งครรภ์

สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน จำเป็นต้องได้รับมากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษเนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูก เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลนแคลเซียม นอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูก หรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้

วัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ

คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูง ถ้าร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง

ดังนั้น คนในวัยสูงอายุที่มีการเสริมแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูก เมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็ น้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

กันยายน 17, 2021

“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”


Read more
ตุลาคม 15, 2020

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีดูแลกระดูกให้แข็งแรง


Read more
ตุลาคม 15, 2020

โรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel