หลายๆคนที่หายจากการติดเชื้อCOVID-19 อาจต้องเผชิญกับภาวะลองโควิด (Long COVID) ซึ่งเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อติดเชื้อCOVID-19 ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก อาการลองโควิดจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย หลายๆคนยังไม่ทราบว่าภาวะลองโควิด (Long COVID) คืออะไร ใครบ้างที่มีความเสี่ยงและ หากเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไร วันนี้วิสทร้ามีสาระดีๆมาฝากกันค่ะ !!
ลองโควิด (Long COVID) คืออะไร ?
ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post Covid-19 Syndrome คือ อาการทางร่างกายหรือจิตใจที่หลงเหลือจากการหายติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อาจเป็นผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้อาการลองโควิด (Long COVID) จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งอาการลองโควิด (Long COVID) มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID)
ผู้ที่มีความเสี่ยงการเกิดภาวะลองโควิด คือผู้ที่เคยผ่านการติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) มาแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายจะมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) มากขึ้นได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังนี้
แต่ใช่ว่าทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จะมีภาวะลองโควิด (Long COVID) ทุกคนหลังจากการหายจากการติดเชื้อแล้วโควิด-19 (COVID-19) หากมีการดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดี เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะลองโควิด (Long COVID) ได้
อาการของภาวะลองโควิด (Long COVID)
อาการของลองโควิดมีหลากหลายอาการ แต่อาการที่พบบ่อย มีดังนี้
ดูแลร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลองโควิดด้วยอาหารเสริมภูมิ
ผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและเสริมภูมิคุ้มกันให้ตนเองอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เนื่องจากผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) อาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งด่วนของผู้คนในปัจจุบัน อาจทำให้เราไม่ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่าที่ควร กลุ่มสารอาหารที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) ที่วิสทร้าจะมาแนะนำในวันนี้ คือ
สารสกัดจากกระชายขาวปลอดภัยต่อการบริโภค ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษของการรับประทานกระชาย รายงานสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสองชนิดจากกระชายขาวได้แก่ พินอสตรอบิน (Pinostrobin) และ พินอแซมบริน (Pinosambin) ไม่มีผลต่อการกลายพันธุ์หรือความเป็นพิษต่อหนูทดลอง แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองและในคนต่อไป หากต้องการรับประทานกระชายขาวในช่วงนี้สามารถใช้ในรูปแบบของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันได้
ในการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) นอกเหนือจากสารอาหารสำคัญที่แนะนำข้างต้นไปแล้วนั้น ทางกรมอนามัยกระทรวงสาธารณธสุขยังแนะนำให้ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 (COVID-19) รับประทานอาหารประเภทโปรตีนเพื่อช่วยในการเสริมสร้างการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โปรตีนจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 (COVID-19) จะมีปัญหาเรื่องระบขับถ่าย ควรรับประทานอาหารประเภทโพรไบโอติก เพิ่มเติม เช่น พวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยวต่างๆ ที่มีจุลิทรีย์ชนิดที่ดีที่จะช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบทางเดินอาหารกลับมาทำงานอย่างเป็นปกติ
ดังนั้นการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก หากร่างกายของเราอ่อนแอ อาจเกิดการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น…เมื่อรู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะลองโควิด (Long COVID)ได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพนะคะ…เพราะชีวิตดีเริ่มต้นที่สุขภาพ ด้วยความปรารถนาดีจาก Vistra
Literature Cited:
1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 16 ก.พ. 65
2. คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทยในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. (2563). กระชาย (KRA CHAI). วารสารการแพทย์แผนไทยและการาแพทย์ทางเลือก, 18 (2), 443-437.
3. วารสารหมอชาวบ้านฉบับที่ 506 ปีที่ 43 มิถุนายน 2564
4. Adrian R Martineau et al., Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory infections: individual participant data meta-analysis, Health Technol Assess., 2019 Jan;23(2):1-44.
5. Barbara Prietl et al., Vitamin D and Immune Function, Nutrients. 2013 Jul; 5(7): 2502-2521.
6. Harri Hemila and Elizabeth Chalker, Vitamin C for preventing and treating the common cold, Cochrane Database Syst Rev., 2013 Jan 31;(1):CD000980.
7. Krawitz et al., Inhibitory activity of a standardized elderberry liquid extract against clinically-relevant human respiratory bacterial pathogens and influenza A and B viruses. BMC Complementary and Alternative Medicine, 2011.
8. Janice K. Kiecolt-Glaser et al., Omega-3 Fatty Acids and Stress-Induced Immune Dysregulation: Implications for Wound Healing, Mil Med. 2014 Nov; 179 129-133.
9. The ABC Clinical Guide to Elder berry. The American Botanical Council. 2004.
10. Sanguansak Rerksuppaphol and Lakkana Rerksuppaphol, A randomized controlled trial of zinc supplementation in the treatment of acute respiratory tract infection in Thai children, Pediatr Rep., 2019 May 23; 11(2): 7954.
11. Vaclav Vetvicka et al., Bata Glucan: Supplement or Drug? From Laboratory to Clinical Trials, Molecules. 2019 Apr; 24(7): 1251.