“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย

                       โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อน (Cartilage) บริเวณผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างและโครงสร้าง ส่งผลให้กระดูกอ่อนบางลงจนทำให้เกิดการเสียดสีกันของกระดูก เป็นโรคที่พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆจะมีอาการปวดข้อ ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การทำกิจประจำวันต่างๆ ทำได้ไม่สะดวกส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการดูแลสุขภาพข้อเข่าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วันนี้วิสทร้ามีสาระดีเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมมาฝาก รวมถึงสารอาหารต่างๆที่ช่วยในการดูแลสุขภาพข้อ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อมกันก่อน มีอะไรบ้างตามไปดูกันเล้ย…

โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ สรุปได้ดังนี้

                       · ระยะ0 หรือระยะก่อนเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม (Stage 0 : Normal) เป็นระยะที่กำหนดให้ข้อเข่าปกติแข็งแรง อาจมีความเสียหายเริ่มเกิดขึ้นในระดับเซลล์ แต่ยังไม่มีอาการหรืออาการแสดงทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าเป็นอาการเสื่อมของข้อ

                       · ระยะ 1 (Stage1 : Minor) มีการเริ่มสูญเสียกระดูกอ่อนบางส่วนระหว่างข้อต่อประมาณ 10% ช่องว่างระหว่างข้อต่อยังไม่เล็กลง มักจะไม่พบความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายใดๆ อันเป็นผลมาจากการสึกหรอเพียงเล็กน้อยบนส่วนประกอบของข้อต่อ

                       ·  ระยะที่ 2 (Stage 2 : Mild) การเสื่อมของข้อเข่าถือเป็นระยะที่ไม่รุนแรง กระดูกอ่อนเริ่มแตก ข้อต่อแคบลง มีการเกิดกระดูกพรุน แต่ยังดูเป็นปกติของเหลวไขข้อจะยังคงมีอยู่ในระดับที่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนไหวของข้อต่อตามปกติ

                       · ระยะที่ 3 (Stage 3 : Moderate) จัดเป็นระยะการเสื่อมของข้อระดับปานกลาง ในระยะนี้ กระดูกอ่อนระหว่างกระดูกแสดงความเสียหายอย่างชัดเจน และช่องว่างระหว่างกระดูกเริ่มแคบลง ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระยะที่ 3 มักมีอาการปวดบ่อยครั้งเมื่อเดิน วิ่ง งอขา หรือคุกเข่า อาจมีอาการตึงตามข้อหลังจากนั่งเป็นเวลานานหรือเมื่อตื่นนอนตอนเช้า มีอาการบวมตามข้อหลังจากการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานด้วยเช่นกัน

                       · ระยะที่ 4 (Stage 4 : Severe) ถือเป็นการเสื่อมของข้อระดับรุนแรง ผู้ที่อยู่ในระยะนี้จะรู้สึกเจ็บปวดและไม่สบายอย่างมากเมื่อเดินหรือขยับข้อ นั่นเป็นเพราะช่องว่างระหว่างกระดูกลดลงอย่างมาก กระดูกอ่อนหายไปเกือบทั้งหมด ทำให้ข้อต่อแข็งและอาจขยับไม่ได้ ของเหลวบริเวณไขข้อลดลงอย่างมาก และไม่ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างส่วนที่เคลื่อนไหวของข้อต่ออีกต่อไป

                       ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม

  1. การใช้ข้อเข่าบ่อยๆ เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  2. การออกกำลังกาย ที่ต้องมีการใช้ข้อ เช่น การวิ่ง บาสเก็ตบอล วอลเล่บอล เป็นต้น หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีกก็จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย และได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติอีกด้วย
  1. น้ำหนักตัว การมีน้ำหนักตัวมากจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว เนื่องจากข้อเข่ามีการแบกรับน้ำหนักตัวไว้และเกิดแรงกดทับบริเวณข้อ
  1. อายุ และเพศ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้มาก เนื่องจากอายุการใช้งานของข้อที่ยาวนาน โดยเฉพาะเพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลง เดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

ดูแลสุขภาพข้อเข่าด้วย Collagen Type ll (UC-II®)

              คอลลาเจน ไทพ์ทู (Collagen Type ll) คือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 ชนิดเดียวกันกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อ แตกต่างจากคอลลาเจนที่พบในเซลล์ผิวหนังที่เป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1 และ 3 (Collagen Type 1 and Collagen Type 3) คอลลาเจนไทพ์ทู นี้มีหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงกับข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ โดยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการหลั่งเอนไซม์ที่ย่อยทำลายกระดูกอ่อนบริเวณข้อ จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น

คอลลาเจนไทพ์ทูที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. Denatured Collagen Type II
    ดีเนเจอร์คอลลาเจนไทพ์ทู หรือไฮโดรไลซ์คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Hydrolyzed Collagen Type ll) เป็นคอลลาเจนที่ผลิตโดยผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์และใช้อุณหภูมิสูงจึงทำให้มีโครงสร้างที่เล็กลง ไม่สมบูรณ์แบบเหมือนที่มีในร่างกาย (ไม่เป็น Triple Helix Structure)
  2. Undenatured Collagen Type II (UC-II®)

อันดีเนเจอร์ คอลลาเจนไทพ์ทู (Undenatured Collagen Type II) หรือ UC-II® คือ คอลาเจนชนิดที่ 2 เป็นคอลลาเจนเข้มข้นจากธรรมชาติ มีคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่ไม่ถูกทำลายถึง 25% เป็นนวัตกรรมเฉพาะที่ผลิตภายใต้อุณหภูมิต่ำ และไม่ใช้เอนไซม์ในกระบวนการสกัด เพื่อคงโครงสร้างคอลลาเจนที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับCollagen Type II ที่มีในร่างกาย (เป็นแบบ Triple Helix Structure)

  • จากการศึกษาทางคลินิกของ Clowlay et al., 2009 พบว่า การรับประทาน UC-II® เพียง 40 มก. มีประสิทธิภาพมากกว่าสองเท่า เมื่อเทียบกับการรับประทานกลูโคซามีน 1,500 มก. ร่วมกับคอนดรอยติน 1,200 มก ในการดูแลสุขภาพข้อ การวิจัยทางคลินิกใช้การทดลองแบบสุ่มและDouble-blind โดยทดสอบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 52 ราย พบว่า UC-II® ลดอาการปวดข้อ และความรู้สึกไม่สบายและการเคลื่อนไหวลำบาก ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญและลดอาการต่างๆได้ดีกว่าการรับประทานกลูโคซามีนร่วมกับคอนดรอยติน ในการทดลองนี้ใช้เครื่องมือในการประเมินWOMAC, VAS และ Lequesne functional index.
  • คะแนน WOMAC ลดลง 33% เมื่อเทียบกับการรับประทานกลูโคซามีน+คอนดรอยติน14%
  • คะแนน VAS ลดลง 40% เมื่อเทียบกับการรับประทานกลูโคซามีน+คอนดรอยติน15%
  • คะแนน Lequesne ลดลง 20% เมื่อเทียบกับการรับประทานกลูโคซามีน+คอนดรอยติน6%

 

                      UC-II ลดความเจ็บปวดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทำกิจกรรมประจำวันบางอย่าง เช่น เดินบนพื้นเรียบ ทำงานบ้านหนัก เดินขึ้นและลงบันได และขณะพักผ่อนบนเตียงเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานกลูโคซามีนร่วมกับคอนดรอยติน

                      การศึกษาในมนุษย์ของ Bagchi D et al., 2002 ทำการศึกษาโดยให้ผู้หญิง 5 คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม รับประทาน UC-II® 40 มก. ต่อวันเป็นเวลา 42 วัน พบว่า การรับประทาน UC-II® สามารถช่วยลดอาการปวดตึงในตอนเช้าและอาการฝืดเคืองติดขัดของข้อในช่วงเวลาพักผ่อน ความเจ็บปวดลดลงโดยเฉลี่ย 26% อย่างมีนัยสำคัญ

จบปัญหาปวดอักเสบของข้อด้วยสารสกัดจากขมิ้นชัน

                      ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตั้งแต่พ.ศ. 2555 ในกลุ่มยารักษากลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร สรรพคุณขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งในสัตว์ทดลองและทางคลินิกที่ระบุว่า ขมิ้นชันมีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบของข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoporosis) โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน จึงทำให้ขมิ้นชันจัดอยู่ในรายการยาเพิ่มเติมที่จะผลักดันสู่บัญชียาที่พัฒนาจากสมุนไพรในกลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

                      ขมิ้นชัน มีสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยยับยั้งเอนไซม์และสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบหลายชนิด เช่น cyclooxygense-2, leukotrines, thromboxane, prostaglandins, nitric oxide, collagenase, elastase, hyaluronidase, monocyte chemoattractant protein-1, interferon-inducible protein, tumor necrosis factor (2-12) และมีความเป็นพิษต่ำ จึงถูกนามาพัฒนาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการข้ออักเสบผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมหรือข้อเข่าอักเสบ

งานวิจัยทางคลินิกของขมิ้นชัน ที่เกี่ยวข้องในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม (Clinical Study )

  1. การศึกษาของ Panahi Y et al., 2014 เกี่ยวกับประสิทธิผลของขมิ้นชันในผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมระดับอ่อน-ปานกลาง ให้รับประทานสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) จากขมิ้นชัน ขนาด 500 มก. วันละ 3 ครั้ง (1500 mg./วัน) นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นประเมินอาการและความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้ WOMAC ประเมินระดับความเจ็บปวดด้วย VAS และ Lequesne’s pain functional index (LPFI) พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับเคอร์คูมินอยด์มีค่าเฉลี่ยของ WOMAC, VAS และ LPFI ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก เคอร์คูมินอยด์สามารถบรรเทาอาการปวดและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
  2. การศึกษาของ Shep D et al., 2019 เกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของขมิ้นชันเปรียบเทียบกับยาไดโคฟีแนค มีการศึกษาในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา NSAIDs ศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 139 คนสุ่มได้รับยาขมิ้นชัน 500 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง(1500 mg/วัน) หรือได้รับไดโคฟีแนคขนาด 50 mg. 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 28 วันมีการติดตามทุกวันที่ 7, 14, 28 พบว่า กลุ่มที่ได้รับขมิ้นชันมีความปวดลดลงลงไม่แตกต่างจากการใช้ยาไดโคลฟีแนคและลดอาการท้องอืดซึ่ง เป็นผลจากการใช้ยาไดโคลฟีแนคได้การศึกษาของ Panahi Y et al., 2014 เกี่ยวกับประสิทธิผลของขมิ้นชันในผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมระดับอ่อน-ปานกลาง ให้รับประทานสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) จากขมิ้นชัน ขนาด 500 มก. วันละ 3 ครั้ง (1500 mg./วัน) นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นประเมินอาการและความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้ WOMAC ประเมินระดับความเจ็บปวดด้วย VAS และ Lequesne’s pain functional index (LPFI) พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับเคอร์คูมินอยด์มีค่าเฉลี่ยของ WOMAC, VAS และ LPFI ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก เคอร์คูมินอยด์สามารถบรรเทาอาการปวดและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
  1. การศึกษาของ Kuptniratsaikul V et al., 2014 “Efficacy and Safe of Curcuma Domestica extracts compared with ibuprofen in patients with knee osteoarthritis: a multicenter study” เกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดจากขมิ้นชันเปรียบเทียบกับไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จากการศึกษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม 367 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน 1,500 มิลลิกรัม/วัน กลุ่มที่ 2 จำนวน 182 คน ได้รับยาไอบูโปรเฟน 1200 มิลลิกรัม/วัน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วัดผลโดยค่า WOMAC score และ Adverse event ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันมีค่า WOMAC score ที่สัปดาห์ที่ 0, 2, 4 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟน

 

จากรายงานการศึกษาทางคลินิคสามารถสรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบอันเนื่องมาจากข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ มีความปลอดภัยสูง ไม่พบความเป็นพิษของขมิ้นชัน มีแนวโน้มที่ดีที่จะนำไปใช้ในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม ทั้งให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกับการใช้ยาแก้ปวดและยาต้านอักเสบแผนปัจจุบัน

 

สารอาหารอื่นๆที่ช่วยดูแลสุขภาพข้อ

  1. วิตามินซี

วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถลดการอักเสบและปวดข้อได้ด้วยการต่อต้านอนุมูลอิสระและขับออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบข้อต่อโดยส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในข้อต่อและเนื้อเยื่อกระดูก

  1. วิตามินอี

วิตามินอี ช่วยป้องกันหรือรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารที่ช่วยนการต้านการอักเสบจากการศึกษาพรีคลินิกและในมนุษย์ การศึกษาในเซลล์พบว่าวิตามินอีช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนหรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ถุงอัณฑะที่เกิดจากความเครียดทางกลหรืออนุมูลอิสระ การศึกษาในสัตว์ทดลองชี้ให้เห็นว่าการรักษาด้วยวิตามินอีช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและปรับปรุงสถานะออกซิเดชันในสัตว์จำลองที่มีปัญหาข้อเข่าโรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมของมนุษย์ พบว่ามีปริมาณวิตามินอีหมุนเวียนในไขข้อต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี การศึกษาเชิงสังเกตยังแสดงให้เห็นว่าวิตามินอีเกี่ยวข้องกับการเหนี่ยวนำของโรคข้อเข่าเสื่อมในประชากรทั่วไป การเสริมวิตามินอีอาจช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่า โดยสรุปแล้ว วิตามินอีอาจชะลอการลุกลามของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยการบรรเทาลดปฎิกิริยาoxidative stress และการอักเสบของข้อต่อ

  1. วิตามินบี 6 และบี 12

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่าระดับวิตามินบี 6 และบี 12 ลดลงกว่าระดับปกติอย่างมาก มีการศึกษพบว่า การรับประทานวิตามินบี6 และบี 12 จะช่วยดูแลระบบประสาท และอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดข้ออักเสบได้ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับการลดการปวดอักเสบของข้อยังคงต้องได้รับการศึกวิจัยเพิ่มเติม

  1. วิตามินดี

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน การรับประทานวิตามินดีมีส่วนช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพกระดูก ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

สำหรับใครที่มีปัญหา ข้อดังกร๊อบแกร๊บ ขณะเดินมีอาการเจ็บแปร๊บบริเวณหัวเข่า ข้อเข่าติดยืดขาได้ไม่สุด อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะกำลังเผชิญกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มคอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type ll ) และสารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric Extract) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพข้อเข่าซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมกระดูกอ่อนบริเวณข้อและช่วยลดอาการอักเสบริเวณข้อได้ เพราะชีวิตดีเริ่มต้ที่สุขภาพ  อย่าให้ปัญหาข้อเสื่อม ทำชีวิตคุณสะดุด!!  ด้วยความห่วงใยจากVistra Collagen Type ll plus Turmeric Ecxtract

Reference

  1. กนกพร อะทะวงษา. ขมิ้นชันกับโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoporosis). สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 1-6.
  2. สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the Knee) [ออนไลน์]. (มปป.). เข้าถึงได้จาก http://www.msdbangkok.go.th/healthconnor_Osteoarthritis%20of%20the%20Knee.htm. (สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564).
  3. Bagchi D, Misner B, Bagchi M, et al. Effects of orally administered undenatured type II collagen against arthritic inflammatory diseases: a mechanistic exploration. Int J Clin Pharm Res. 2002;22:101-110.
  4. Carol Eutice. (2020). The Effects of Vitamin C on Arthritis. Retrieved September 10, 2021, from https://www.verywellhealth.com/the-effects-of-vitamin-c-on-arthritis-190257.
  5. Chin K. and Ima-Nirwana S. The Role of Vitamin E in Preventing and Treating Ostreoarthritis-A Review of the Current Evidence. Front Pharmacol. 2018; 9: 946.
  6. Crowley DC, Lau FC, Sharma P, et al. Safety and efficacy of undenatured type II collagen in the treatment of osteoarthritis of the knee: a clinical trial. Int J Med Sci. 2009;6:312-321.
  7. Kimberly Holland. (2021). Stages of Osteoartritis (OA) Of the Knee. Retrieved August 18, 2021, from https://www.healthline.com/health/osteoarthritis-stages-of-oa-of-the-knee.
  8. Kuptniratsaikul V et al., Efficacy and Safe of Curcuma Domestica extracts compared with ibuprofen in patients with knee osteoarthritis: a multicenter study. Clinical Interventions in Aging. 2014: 9.
  9. Jenifer Warner. (2012). Low Vitamin B6 Linked to Inflammation. Retrieved September 13, 2021, from https://www.webmd.com/heart/news/20120619/low-vitamin-b6-linked-to-inflammation.
  10. Jessica Brown. (2018). 6 Vitamins and Supplements for Inflammatory Arthritis That Doctors Approve. Retrieved September 13, 2021, from https://creakyjoints.org/alternative-medicine/vitamins-supplements-inflammatory-arthritis/.
  11. Panahi Y, Rahimnia AR, Sharafi M, Alishiri G, Saburi A, Sahebkar A. Curcuminoid treatment for knee osteoarthritis: a randomized double-blind placebo-controlled trial. Phytother Res 2014;28(11):1625-31.
  12. Performance Lab. (2009). Joint Pain and B12 Deficiency. Retrieved September 13, 2021, from https://www.performancelab.com/blogs/joint-support/joint-pain-and-b12-deficiency.
  13. Shep D, Khanwelkar C et al., Safety and Efficacy of Curcumin versus Diclofenac in knee osteoarthritis : a randomized open-label pararallel-arm study. Shep et al. Trials (2019) 20:214.
  14. Teach Me Surgery. (2021). Osteoarthritis. Retrieved August 18, 2021, from https://teachmesurgery.com/orthopaedic/principles/osteoarthritis/.

 

 

 

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

ตุลาคม 15, 2020

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีดูแลกระดูกให้แข็งแรง


Read more
ตุลาคม 15, 2020

โรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


Read more

Sports Injury. Beautiful Woman Feeling Pain In Knee, Sitting On Floor And Touching Painful Knee. Girl Injured Her Leg During Sport Workout Indoors. Female Suffering From Pain In Joint. High Resolution

สิงหาคม 22, 2018

“คอลลาเจนชนิดที่ 2” ทางเลือกใหม่ในการดูแล…ข้อเข่า


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel