ลดสภาวะเครียด บำรุงสมองและระบบประสาทลดสภาวะเครียด บำรุงสมองและระบบประสาทลดสภาวะเครียด บำรุงสมองและระบบประสาทลดสภาวะเครียด บำรุงสมองและระบบประสาท
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย

 

บำรุงสมองและระบบประสาท
สมองและระบบประสาท เป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสมองเป็น ศูนย์รวมของระบบประสาท ที่จะคอยควบคุมกลไกและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ให้ทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง รวมทั้งควบคุมเรื่องของการจดจำ ความคิดและการเรียนรู้ ดังนั้นการดูแลรักษาสมองจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำตั้งแต่ช่วงแรกของอายุ

สารอาหารเพื่อการทำงานของสมองและระบบประสาท
               1. ซอย เปปไทด์
ซอย เปปไทด์ คือ ถั่วเหลืองผ่านกระบวนการย่อยจนกระทั่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ส่งผลให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วพร้อมประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้โปรตีนที่ได้จากถั่วเหลือง จะประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้งชนิดที่ร่างกายสร้างเองและชนิดที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ (Essential amino acid) ในปริมาณที่มากและครบถ้วนกว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทซึ่งได้แก่ อาร์จีนิน กรดกลูตามิก ไกลซีน และกรดแอสพาร์ติก

กลไกการทำงาน
เพราะสมองต้องการสารอาหารที่สำคัญในการสร้างสารสื่อประสาท (Neurotrasmitter) ดังนั้นการได้รับซอย เปปไทด์ จึงทำให้สมองได้รับสารอาหารที่รวดเร็วก่อให้เกิดความสดชื่น คลายเครียด และกระปรี้กระเปร่าตลอดเวลา นอกจากนี้ซอย เปปไทด์ ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญในการกระตุ้นการปลดปล่อยคลื่นสมองชนิดแอลฟ่าในสมองอีกด้วย ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสมองที่ทำให้มีสมาธิและเกิดการผ่อนคลาย

                 2. เลซิติน
กลไกการทำงาน
เลซิตินจัดเป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์สมองถึง 30% และจัดเป็นสารประกอบหลักของ “โคลีน (Choline)” สารซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่ชื่อ “อะซิทิลโคลีน” เพื่อช่วยในการส่งและรับข้อมูลของสมองให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวมถึงทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลด้านความรู้สึกความจำ อารมณ์ต่าง ๆได้ตามที่คิด

                 3. น้ำมันปลา
กลไกการทำงาน
น้ำมันปลาคือ น้ำมันที่สกัดได้จากส่วนที่เป็น เนื้อ หัว และหางของปลา ซึ่งส่วนที่ดีที่สุดควรจะเป็นส่วนของเนื้อปลาและควรได้มาจากปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลน้ำเย็นลึกเช่น ปลาแซลมอน ซึ่งสารอาหารที่สำคัญของน้ำมันปลาคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 ที่สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งสารอาหารส่วนที่สำคัญสำหรับการทำงานของเซลล์สมองก็คือ ดีเอชเอ นั่นเอง

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซน์เมอร์หรือความจำเสื่อมจะมีระดับของโอเมก้า 3 หรือปริมาณ ดีเอชเอ ในกระแสเลือดต่ำกว่าผู้ที่อยู่ในสภาวะร่างกายปกติ ส่วนมารดาที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ขณะที่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งลูกน้อยมีอายุครบ 4 ปีพบว่า เด็กจะมีระดับไอคิวที่สูงกว่ามารดาที่ไม่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3

                  4. แอล-ธีอะนีน
แอล-ธีอะนีนจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบมากในชาเขียว มีคุณสมบัติที่สำคัญคือช่วยให้ระบบประสาทและสมองเกิดการผ่อนคลาย
กลไกการทำงาน
กลไกที่ 1. แอล-ธีอะนีน จะกระตุ้นการผลิตคลื่นสมองชนิดอัลฟ่า (Alpha Wave) ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสมองที่พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข หรือขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงของการผ่อนคลาย รวมทั้งเป็นช่วงคลื่นที่สมองมีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว
กลไกที่ 2. แอล-ธีอะนีน มีบทบาทสำคัญในการผลิต GABA (Gamma Amino Butyric Acid) สารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง (Inhibitor) โดย GABA จะทำหน้าที่รักษาสมดุลสารเคมีในสมองที่ได้รับการกระตุ้นให้เข้าสู่ภาวะผ่อนคลายและนอนหลับสบาย

                   5. โคเอ็นไซม์คิวเท็น
โคเอ็นไซม์คิวเท็นจัดเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติที่ละลายในน้ำมัน มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) และสำคัญต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของทุกระบบในร่างกาย เนื่องจากเป็นสารที่สำคัญมากต่อกระบวนการสร้างพลังงานของแต่ละเซลล์
กลไกการทำงาน
เนื่องจากโคเอ็นไซม์คิวเท็น เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ ดังนั้นเพื่อให้เซลล์สมองมีสุขภาพที่ดีและเป็นการเพิ่มพลังงานให้กับสมอง การได้รับโคเอ็นไซม์อยู่เป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

                    6. วิตามินบีรวม (B Complex)
กลไกการทำงาน
เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะปรับตัวโดยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างสารต่างๆ ออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ซึ่งในการสร้างสารเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ “กลุ่มวิตามินบี (B Complex)” ในการสังเคราะห์ ดังนั้นหากร่างกายอยู่ในภาวะเครียดสะสม วิตามินบีก็จะถูกใช้จนหมดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายโดยเฉพาะสมองขาดพลังงาน และนำไปสู่ภาวะความเครียดที่รุนแรงได้ นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าวิตามินบีรวมจะมีส่วนสำคัญอย่างมากของการสร้างสรสื่อประสาทในสมอง

                     7. โสม (Ginseng)
โสม (Ginseng) เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้และยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพกันมากในกลุ่มประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีมานานกว่า 2,000 ปี ซึ่งโสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A. Mayer ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์และมีคุณค่าคือส่วนที่เป็นราก สารสำคัญที่พบในรากนั้นชื่อว่า“จินเซโนไซด์ Ginsenoside” ซึ่งจะมีมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของโสมแหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต
กลไกการทำงาน
จินเซโนไซด์ ที่อยู่ในโสมจะทำหน้าที่ในการปรับสมดุลให้กับร่างกาย ทั้งในเรื่องของการลดความเครียดและลดอาการเมื่อยล้าหลังการออกกำลังกาย

                     8. แป๊ะก๊วย (Ginkgo Biloba)
แป๊ะก๊วย (Ginkgo Biloba) จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีอายุเกือบเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยคุณค่าของแปะก๊วยทำให้ปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ของแปะก๊วยมากกว่า 400 ฉบับสารสำคัญหลักมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)ที่มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และกลุ่มของสารเทอปีน แลคโตน (Terpene Lactone) ที่ประกอบด้วยสาร Bilobalides และ สาร Ginkgolides ซึ่งมีบทบาทต่อการดูแลและป้องกันโรคสมองเสื่อม
กลไกการทำงาน
เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปสู่สมองมากขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มาทำลายเยื่อหุ้มเซลล์บริเวณสมอง ยับยั้ง Beta-Amyloids สารที่ก่อให้เกิดอัลไซเมอร์ และลดความข้นเหนียวของเลือด

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

ธันวาคม 11, 2019

เคล็ด(ไม่)ลับ เพิ่มความจำ อัพสมองให้สดใส


Read more
พฤศจิกายน 27, 2018

ถึงเวลาต้องเสริมด้วยวิตามินบีแล้วหรือยัง?


Read more

Vital procedure. Beautiful dark-haired woman lying on an examination table and undergoing electroencephalography while her doctor examining CT results

สิงหาคม 30, 2018

ความจำไม่ดี สมาธิจะดีได้มั้ย!!


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel