สุขภาพกระดูกและข้อสุขภาพกระดูกและข้อสุขภาพกระดูกและข้อสุขภาพกระดูกและข้อ
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
 

สุขภาพกระดูกและข้อ
                 กระดูกและข้อจัดเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายโดยมีหน้าที่หลักคือ การเป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน ช่วยในการเคลื่อนไหวและหายใจ เป็นต้น ดังนั้นการดูแลสุขภภาพกระดูกด้วยการเสริมพวกแคลเซียม การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

สารอาหารเพื่อสุขภาพกระดูกและข้อ
1. แคลเซียม

กลไกการทำงาน
                 แคลเซียมจัดเป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของกระดูกและฟันที่แข็งแรง แหล่งอาหารที่พบแคลเซียมได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้งตัวเล็ก ผักใบเขียวทุกชนิด ยอดแค ยอดสะเดา นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่ว

รูปแบบของแคลเซียม
รูปแบบของแคลเซียมมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ที่พบบ่อยได้แก่ แคลเซียม คาร์บอเนต, แคลเซียม ซิเตรต, และแคลเซียม กลูโคเนต ซึ่งแคลเซียมในแต่ละรูปแบบมีข้อดีและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

1. แคลเซียม คาร์บอเนต: ต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วยในการแตกตัว เพราะฉะนั้นแนะนำให้รับประทานหลังทานอาหาร ข้อดีของรูปแบบนี้คือ ให้ปริมาณของแร่ธาตุแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

2. แคลเซียม ซิเตรต: รับประทานได้ทุกช่วงเวลา เพราะไม่ต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วยในการแตกตัว แต่ข้อเสียคือ ให้ปริมาณแร่ธาตุแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำ

3. แคลเซียม กลูโคเนต : เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในเครื่องดื่มชนิดชง เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี รวมถึงมีรสชาติที่ดีเหมาะสำหรับการทำเครื่องดื่ม

เพื่อกระดูกและฟันที่แข็งแรงมากขึ้นควรรับประทานแคลเซียมและสารอาหารชนิดอื่นร่วมกัน
แมกนีเซียม : ทำงานร่วมกับแคลเซียมเพื่อกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
วิตามินเค : จำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือด และสำคัญต่อกระบวนการผลิตโปรตีนบางชนิดที่จำเป็น ต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน รวมทั้งลดการสลายตัวของแคลเซียม
ไลซีน : เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม
วิตามินดี : เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม
วิตามินซี : เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม

2. น้ำมันปลา
              เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพกระดูกและข้อแน่นอนว่า แคลเซียมจัดเป็นสารอาหารอันดับหนึ่งที่คิดถึง แต่อย่างไรก็ตามแคลเซียมเป็นสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงของกระดูกและฟัน แต่หากพูดถึงเรื่องของอาการปวดข้ออักเสบแล้ว น้ำมันปลาจัดเป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการได้
กลไกการทำงาน
              สารอาหารที่สำคัญในน้ำมันปลาคือ กรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งมีกรดไขมันหลักๆ อยู่สองตัว คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA(Docosahexaenoic Acid) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า EPA มีคุณสมบัติในการลดอาการอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจาก EPA สามารถลดสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ปวด บวม นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มการสร้างสาร Prostaglandin E3(PGE3) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติทำให้อาการอักเสบต่างๆ ของข้อลดลงได้

3. กระดูกอ่อนปลาฉลาม
กลไกการทำงาน
              กระดูกอ่อนปลาฉลามมีผลในการบรรเทาหรือรักษาโรคข้อเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบหลักที่อยู่ในกระดูกอ่อนปลาฉลามคือ สารในกลุ่มไกลโคสอะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans) ซึ่ง 80% เป็นสาร คอนดรอยติน (Chondroitin) ที่เป็นสารอาหารหลักสำหรับบรรเทาอาการของข้อเสื่อม

คอนดรอยติน(Chondroitin) บรรเทาอาการข้อเสื่อมโดยทำหน้าที่:
     – ยับยั้งเอนไซม์ Collagenase ที่เข้ามาทำลายคอลลาเจนบริเวณกระดูกอ่อน
     – ลดการสร้างสารบางชนิดที่เข้าทำลาย Cartilage Matrix
     – เพิ่มความสามารถในการดึงน้ำหล่อลื่นเข้าสู่ระหว่างข้อมากขึ้น
     – เพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ Proteoglycans และกรดไฮยาลูโลนิกมากขึ้น
     – ลดการเสียดสีระหว่างข้อต่อ ส่งผลให้ลดการอักเสบ ปวดและบวมได้

4. โบรอน
              โบรอน เป็นแร่ธาตุธรรมชาติ ซึ่งการได้รับโบรอนในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและแหล่งน้ำบริเวณนั้น
กลไกการทำงาน
    – โบรอน มีผลต่อความหนาแน่น และความแข็งแรงของกระดูก
    – โบรอน ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ซึ่งส่งผลต่อกระดูกที่แข็งแรง
    – โบรอน ช่วยลดปริมาณการสลายแคลเซียมและแมกนีเซียม
    – โบรอน รักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูกที่แข็งแรง

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

กันยายน 17, 2021

“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”


Read more
ตุลาคม 15, 2020

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีดูแลกระดูกให้แข็งแรง


Read more
ตุลาคม 15, 2020

โรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel