โรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามโรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามโรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามโรคกระดูกพรุน…ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัยและพบมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก หากรุนแรงอาจทำให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นการสลายกระดูกจะมากกว่าการสร้างกระดูก แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ควรเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกอยู่เสมอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้ วันนี้วิสทร้านำสาระดีๆเกี่ยวกับ “โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม” มาฝาก ตามไปดูกันเลยค่ะ…

 

โรคกระดูกพรุน คืออะไร?

โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูกจะทำให้กระดูกแตกหรือหักง่ายกว่าปกติ พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ มีค่ามวลกระดูกของร่างกายลดต่ำกว่าค่ามวลกระดูกมาตรฐานตั้งแต่ -2.5 เอสดีขึ้นไป ซึ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษาจะทำให้เสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้นและทำให้อาการของโรคกระดูกพรุนอาจลุกลามรุนแรงได้

โดยปกติการสร้างกระดูกจะใช้เวลา 4 เดือน และการสลายกระดูกใช้เวลา 4 สัปดาห์ กระบวนการสร้างและการสลายกระดูกจะเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างสมดุล จนกระทั่งอายุ 30 ปี กระบวนการสร้างกระดูกจะเริ่มมีการสูญเสียมากกว่าการสร้างเล็กน้อย ทำให้มวลกระดูกลดลงเรื่อยๆ หากเราไม่มีการเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูก อาจจะเกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ตามมาได้

 

 

ผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนพบได้ประมาณ 0.83% ของโรคที่ไม่ติดต่อทั้งหมดทั่วโลกในกลุ่มคนที่อายุเกิน 50 ปี ผู้หญิงอย่างน้อย 1 ใน 3 คน และผู้ชายอย่างน้อย 1 ใน 5 คน เคยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โดยประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 200 ล้านราย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ที่มีอายุตั้งแต่ 60-90 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูงตั้งแต่ 10-60% ตามอายุที่มากขึ้น โดยบริเวณที่หักมากที่สุดคือ กระดูกปลายแขน 80%, กระดูกต้นแขน 75%, กระดูกสะโพก 70% และกระดูกสันหลัง 58% ซึ่งการหักของกระดูกเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เราจึงควรดูแลร่างกายโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยในการเกิดโรคกระดูกพรุน และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

            ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน มีหลายปัจจัยโดยเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

 

 

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย เซลล์สร้างกระดูกจะมีจำนวนลดลงจนเซลล์สร้างกระดูกทำงานน้อยลง แต่เซลล์สลายกระดูกเพิ่มจำนวนและทำงานมากขึ้น จึงทำให้กระดูกบางและพรุนในที่สุด

 

  • หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจน(ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูก) ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เซลล์สร้างกระดูกทำงานน้อยลง แต่เซลล์สลายกระดูกเพิ่มจำนวนและทำงานมากขึ้น ผลลัพธ์คือทำให้มวลกระดูกลดลง การขาดฮอร์โมนดังกล่าวมีผลทั้งเพศหญิงและเพศชาย และจะส่งผลกระทบมากที่สุดกับผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหรือตรวจพบระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดต่ำ ก็พบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนด้วยเช่นกัน

 

  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย  ถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจากการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยหรือจากการที่ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ปริมาณแคลเซียมที่จะนำไปเสริมสร้างกระดูกก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  และระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสลายกระดูก)ก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการสลายกระดูกมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบางจนกระทั่งเกิดโรคกระดูกพรุนในที่สุด

 

  • การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ (มีผลลดการสร้างกระดูกใหม่ ลดการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ และเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย) ยากันชักบางชนิด (เช่น Barbiturates, Carbamazepine, Phenytoin มีผลทำให้เกิดภาวะพร่องวิตามินดี ลดการดูดซึมของแคลเซียม และการทำงานของฮอร์โมนพาราไทรอยด์เพิ่มขึ้น), หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะการใช้ยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

 

  • การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟเป็นประจำ  การสูบบุหรี่ เป็นตัวร้ายที่ทำให้แคลเซียมสลายออกจากกระดูก ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดของเพศหญิงต่ำกว่าปกติ และการดื่มสุรา ชา กาแฟ คาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

 

  • ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) และลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก (Osteoblast) แต่ถ้าขาดการออกกำลังกาย ไม่ขยับร่างกายหรือขยับร่างกายน้อย เซลล์สลายกระดูก(Osteoblast ก็เพิ่มจำนวนและทำงานมากขึ้น ส่งผลให้กระดูกางและเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 

อาการของโรคกระดูกพรุน และอันตรายจากการเกิดกระดูกหัก

อาการของโรคกระดูกพรุนในช่วงแรกร่างกายจะยังไม่แสดงอาการ ต่อมาอาจมีอาการหลังค่อมรู้สึกปวดที่กระดูกโดยปวดลึกๆที่กระดูก เช่น ที่กระดูกหลังขา กระดูกจะหักง่ายเมื่อล้ม โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่ถึงแม้จะไม่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในการเกิดโรคกระดูกพรุน คือ

  • กระดูกหักได้ง่าย การหักของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดความพิการ เดินไม่ได้ เคลื่อนไหวได้ลดลง ช่วยเหลือตัวเองลำบาก
  • มีอาการหลังโก่งหลังค่อม(มีผลทางอ้อมหลายอย่าง เช่น ทำให้ทรวงอกคับแคบ หายใจไม่สะดวก, ถ้าเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ก็อาจลามไปเป็นโรคปอดอักเสบได้ง่ายขึ้น เป็นต้น)
  • ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนบางรายอาจมีอาการฟันหลุดได้ง่าย หรือมีความเสี่ยงต่อการมีกระดูกหักได้ง่ายแม้จะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือมีแรงกระแทกต่ำ เช่น กระดูกหักจากการเปลี่ยนท่ายืนหรือนั่ง, กระดูกหักขณะก้มหยิบของหรือยกของหนัก, กระดูกซี่โครงหักเพียงแค่ไอหรือจาม, กระดูกข้อมือหักจากการใช้มือยันตัวเอาไว้จากการลื่นหรือหกล้ม, กระดูกสะโพกหักจากก้นกระแทกกับพื้น เป็นต้น

 

เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง..ด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ

การรับประทานอาหารเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานแคลเซียมให้เหมาะสมตามวัยแล้ว วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆก็มีความสำคัญในการเป็นตัวช่วยเสริมการทำงานของแคลเซียม โดยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง มีหลากหลายชนิด ได้แก่

 

  • วิตามินเค2-7 หรือ มีนาควิโนน-7 (Menaquinone-7) เป็นตัวช่วยที่สำคัญอย่างมากในการกระตุ้นเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ให้ผลิตโปรตีนที่มีชื่อว่า Osteocalcin ซึ่งทำหน้าที่ในการจับแคลเซียมเข้าไปเติมเต็มในโพรงกระดูก เสริมความแข็งแรงและความหนาแน่นให้มวลกระดูก และที่มากกว่านั้นวิตามินเค2-7 ยังช่วยในการยับยั้งเซลล์สลายกระดูก (Osteoblast) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
  • โบรอน ช่วยลดปริมาณการขับออกของแคลเซียม แมกนีเซียม รักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นและความแข็งแรงต่อกระดูก
  • แมกนีเซียม แร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับแคลเซียมในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินดี รวมถึงสมดุลของฮอร์โมนบางชนิด เช่น พาราไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสลายกระดูก
  • วิตามินดี3 ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม
  • ซิงค์และคอปเปอร์ เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการกระบวนการสร้างคอลลาเจนซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก และช่วยเพิ่มความหนาแน่นกระดูก
  • วิตามินบี 6, บี 12 และกรดโฟลิก เป็นวิตามินที่ช่วยควบคุมระดับโฮโมซีสเตอีนให้อยู่ในระดับปกติ การมีระดับโฮโมซีสเตอีนที่สูงพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน..เป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราควรรักษาสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพเพราะมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นครบถ้วน เพราะชีวิตดีเริ่มต้นที่สุขภาพ ด้วยความปรารถนาดีจาก Vistra_Calplex Calcium 600 & Menaquinone-7 plus

 

Literature Cited:

  1. นพ.วิรชัช สนั่นศิลป์. ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. โรคกระดูกพรุน: ถาม-ตรวจ-รักษา-ป้องกันได้., สถานการณ์โรคกระดูกพรุน ปี 2555: หักครั้งเดียวก็เกินพอ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : bangkokhealth.com. [5 ก.ย. 2020].
  2. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรคกระดูกพรุน.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : pharm.chula.ac.th. [5 ก.ย 2020].
  3. ภก.ผศ.ต่อศักดิ์ อินทรไพโรจน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis). [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : pharm.su.ac.th. [9 ก.ย. 2020].
  4. สุภาพ อารีเอื้อ (2001). ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ:ทำไมต้องรอจนกระดูกหัก. Rama Nurs J. 2001, 208-218.
  5. ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 317 คอลัมน์ : เรื่องน่ารู้. กินอย่างไรเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : doctor.or.th. [11 ก.ย. 2020].
  6. William Morrison. (2019). What Do You Want to Know About Osteoporosis?. [Online]. https://www.healthline.com/health/osteoporosis. [11 Sep 2020].
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

กันยายน 17, 2021

“รู้ทันพร้อมรับมือ โรคข้อเข่าเสื่อม”


Read more
ตุลาคม 15, 2020

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีดูแลกระดูกให้แข็งแรง


Read more

Sports Injury. Beautiful Woman Feeling Pain In Knee, Sitting On Floor And Touching Painful Knee. Girl Injured Her Leg During Sport Workout Indoors. Female Suffering From Pain In Joint. High Resolution

สิงหาคม 22, 2018

“คอลลาเจนชนิดที่ 2” ทางเลือกใหม่ในการดูแล…ข้อเข่า


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel