ไขมันในเลือดสูงไขมันในเลือดสูงไขมันในเลือดสูงไขมันในเลือดสูง
  • ผลิตภัณฑ์
    • All Product
    • New Product
    • Health & Wellness
    • Beauty
    • Weight & Sport Nutrition
  • คู่มือแนะนำสุขภาพ
    • เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย
    • เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
    • เกร็ดความรู้สุขภาพ
    • เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
    • สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
    • เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
  • ข่าวสาร
  • สถานที่จัดจำหน่าย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Filter by Categories
กิจกรรม
ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เกร็ดความรู้สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลสมองและระบบประสาท
เคล็ดลับดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา
เคล็ดลับผมสวยสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยใส อ่อนกว่าวัย

ไขมันในเลือดสูง

โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จัดเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกลุ่มของไขมันดังกล่าวจะไปก่อให้หลอดเลือดมีการอุดตันหรือเปราะและแตกหักได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจ สมองและอวัยวะอื่น ๆ ได้ตามปกติ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

สารอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

                    1. โพลิโคซานอล
กลไกการทำงาน
โพลิโคซานอลเป็นสารสกัดที่พบได้จาก ไขเปลือกอ้อย (Saccharum Officinarum,L.) โดยจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า โพลิโคซานอล สามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีของหัวใจและหลอดเลือดได้โดย ลดไขมันคอเลสเตอรอลทั้ง LDL และคอเลสเตอรอลชนิดรวมโดยการปรับสมดุลการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยการลดการสร้างสารทีก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด

                    2. ไฟโตสเตอรอล
กลไกการทำงาน
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)เป็นสารจำพวกสเตอรอลที่พบในพืช ผักและผลไม้ จัดเป็นสารประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช ซึ่งมีลักษณะคล้าย กับคอเลสเตอรอลที่พบในสัตว์ ซึ่งไฟโตสเตอรอลสามารถลดและควบคุมระดับของ LDL Cholesterol (คอเลสเตอรอลชนิดร้าย) และTotal Cholesterol (คอเลสเตอรอลโดยรวม) ได้โดยอาศัยลักษณะโครงสร้างที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล ดังนั้นไฟโตสเตอรอลจึงเข้าไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมของคอเลสเตอรอลที่มาจากอาหารให้เข้าสู่ร่างกายน้อยลง ส่งผลให้คอเลสเตอรอลลดลงกว่า 17%ของปริมาณคอเลสเตอรอลที่ควรจะได้รับจากอาหารทั้งหมด

                   3. แกมมา โอริซานอล
สารอาหารที่พบได้มากทั้งในจมูกข้าวและรำข้าว คุณสมบัติที่สำคัญคือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน จนหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้ขึ้นทะเบียนให้สารอาหารชนิดนี้เป็นยาเพื่อใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ
กลไกการทำงาน
ควบคุมคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติทั้งคอเลสเตอรอลชนิด แอลดีแอล (LDL- Cholesterol) และคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol) ใด้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเร่งกระบวนการกำจัดคอเลสเตอรอลให้เร็วขึ้น รวมทั้งไปยับยั้งกระบวนการดูดซึม คอเลสเตอรอลไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
ยับยั้งการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย

                 4. น้ำมันปลา
หากกล่าวถึงปัญหาหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดคงหนีไม่พ้นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ซึ่งเป็นเหล่าศัตรูตัวร้ายที่คอยเกาะและจับอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดซึ่งจะนำมาสู่การอุดตัดของหลอดเลือดและเป็นสาเหตุหลักของภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือเส้นเลือดในสมองแตก
กลไกการทำงาน
ช่วยลดและควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ รวมไปถึงคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในภาวะที่ปกติ นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังเกี่ยวข้องกับความข้นเหลวของเลือด และการแข็งตัวของเลือด ให้ทำงานอย่างเป็นปกติ รวมทั้งมีผลขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะอื่นมากขึ้น

                  5. เลซิติน
กลไกการทำงาน
เนื่องจากคุณสมบัติที่คอเลสเตอรอลไม่ละลายในน้ำ จึงส่งผลให้คอเลสเตอรอลจับตัวและตกตะกอนอยู่ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือด ดังนั้นด้วยคุณสมบัติที่สำคัญของเลซิตินคือ การเป็นอีมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) จึงช่วยให้ คอเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไม่เกิดการอุดตันของคอเลสเตอรอลรวมถึงการไหลเวียนของเลือดดีขึ้นด้วย

                   6. ไฟเบอร์

กลไกการทำงาน
สุขภาพร่างกายที่ดีนั้นทุกระบบต้องทำงานประสานกันอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งระบบการขับถ่ายก็เป็นอีกระบบที่สำคัญ ดังนั้นการรับประทานเส้นใยอาหารจึงเป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้นโดยเส้นใยอาหารจะทำหน้าที่โอบอุ้มน้ำซึ่งทำให้อุจจาระมีความนุ่มขึ้นขับถ่ายสะดวกขึ้น นอกจากนี้เส้นใยอาหารยังช่วยเกาะเกี่ยวพวกสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายอีกด้วย

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related posts

กุมภาพันธ์ 6, 2020

คอเลสเตอรอลสูงเกิน 200…. “ไฟโตสเตอรอล” จัดการได้


Read more
กันยายน 19, 2016

สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด


Read more
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
© Copyright 2016. All Rights Reserved.
Cleantalk Pixel