เคล็ดลับดีๆ ที่ควรรู้ ! โรคหัวใจป้องกันได้ ลิ้นหัวใจรั่วก็ซ่อมได้ (Valve repair)
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่ไม่มีใครอยากเป็นกันนะคะ การระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจหลายคนอาจพอทราบกันมาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย รวมถึงการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ฯลฯ
มาดูวิธีการดูแลสุขภาพหัวใจ ให้ห่างไกลโรคหัวใจ ใครก็ทำได้
แต่ทราบหรือไม่คะว่านอกจากการปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ‘ลิ้นหัวใจรั่ว’ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ค่ะ ซึ่งเจ้าลิ้นหัวใจนี่แหละเกี่ยวข้องกับหัวใจของเราโดยตรงเลยถ้าหากเกิดรั่วหรือทำงานผิดปกติขึ้นมาหัวใจของเราก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรืออาจจะถึงขนาดหัวใจวายได้เลยทีเดียว
ลิ้นหัวใจเป็นเนื้อเยื่อที่กั้นห้องของหัวใจทั้ง 4 ห้องของเราทำหน้าที่หลักคือกั้นให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้องทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเป็นปกติซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากเพราะหากเลือดหยุดไหลเวียนเมื่อไหร่จะทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ
ลองสังเกตตัวเองกันนะคะว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่ ใครมีอาการหอบเหนื่อยไม่มีแรงหน้ามืดเป็นลมบ่อยๆอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจเนื่องจากหลอดเลือดและลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพกรอบแข็งความยืดหยุ่นน้อยและมีไขมันหินปูนเกาะทำให้ลิ้นหัวใจเปิด-ปิดไม่สนิทลิ้นที่มีปัญหาส่วนใหญ่คือ Mitral Valve/ Aortic Valve (หัวใจฝั่งซ้าย) เพราะฝั่งซ้ายทำหน้าที่ปั๊มเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายความดันจึงสูงกว่าพอบีบตัวแรงเลือดก็พุ่งแรงทำให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายมากส่วนใหญ่มักพบลิ้นหัวใจรั่วในผู้สูงอายุมีบ้างที่พบในเด็ก
- ลิ้นหัวใจรูมาติก(Rheumatic heart disease) เกิดจากการติดเชื้อที่คอ หรือผิวหนัง และเกิดการทำลายเนื่อเยื่ออื่นๆรวมทั้งลิ้นหัวใจด้วยเมื่อลิ้นหัวใจถูกทำลายก็จะมีพังพืดและแคลเซียมเกาะทำให้ลิ้นหัวใจเปิด-ปิดไม่ดีเหมือนปกติหัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้น
- ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามวัย (Degenerative) เกิดจากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามอายุส่วนใหญ่พบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพไป ทำให้ลิ้นหัวใจผิดรูปเกิดการเปิดปิดที่ไม่สนิทซึ่งจะทำให้เกิดอาการลิ้นหัวใจรั่วได้
- เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้เกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงเมื่อเป็นมากขึ้นก็อาจจะทำให้ลิ้นหัวใจรั่วส่วนใหญ่จะเป็นกับคนอายุ 50-60 ปี
ต้องบอกเลยค่ะว่า การรักษาปัจจุบัน มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เปิดหน้าอกให้น่ากลัวอีกแล้ว และยังเพิ่มความแม่นยำปลอดภัยและการที่ผ่าตัดแผลเล็กจึงทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนก็น้อยลงด้วยค่ะ
1. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)
ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ยากนักมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจซึ่งมีอยู่2ประเภท
A : ลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะ
อายุการใช้งานมีความทนทานดี แต่การเปลี่ยนลิ้นหัวใจชนิดนี้ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัวไปตลอดชีวิต
B : ลิ้นหัวใจที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจหมูหรือวัว
จะทำให้เกิดลิ่มเลือดต่ำมากเพราะไม่ใช่โลหะไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิตแต่เนื่องจากเป็นเนื้อเยื่อก็จะโดนภูมิต้านทานของร่างกายต่อต้าน และทำลายจนทำให้เกิดพังพืดมีแคลเซียมมาเกาะจนทำให้ลิ้นหัวใจแข็งเปิด-ปิดได้ไม่ดี
สิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจคือถ้าเปลี่ยนด้วยเนื้อเยื่อจะมีอายุการใช้งาน 10 – 15 ปี หลังจากนั้นอาจต้องพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอีกครั้ง ในขณะที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะต้องทานยาป้องกันการแข็งไปตลอดชีวิต ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในสมองได้สูง เช่นมีเลือดออกในสมอง ซึ่งจะเป็นได้มากขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป
2. การซ่อมลิ้นหัวใจ (Vale Repair) ทำได้หลายกรณีดังนี้
A : กรณีที่เป็นลิ้นหัวใจรูมาติก(Rheumatic) เกิดจากแคลเซียมไปเกาะตัวที่ลิ้นหัวใจทำให้เป็นพังพืดทำการซ่อมลิ้นโดยการลอกแคลเซียมที่จับตัวออกและหาเนื้อเยื่ออื่นมาซ่อมแทนเพื่อให้ลิ้นหัวใจทำงานได้ใกล้เคียงปกติหรือเหมือนเดิม
B : กรณีที่เป็นลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามวัย (Degenerative)เช่น เอ็นยึดลิ้นหัวใจที่ยืดหรือขาดลิ้นหัวใจเองย้วย การซ่อม สามารถทำโดยการซ่อมลิ้นหัวใจให้กระชับ ได้ใกล้เคียงปกติ
ผลการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่ทำให้คนไข้อาการดีขึ้นเหนื่อยน้อยลง และผลระยะยาวจะดีกว่าการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเนื่องจากไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนจากยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ซึ่งสิ่งสำคัญในการรักษาไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจนั่นก็คือประสบการณ์ความเชี่ยวชาญความชำนาญของแพทย์เพื่อให้คนไข้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ได้ยินแบบนี้แล้ว ใครอยากจะตรวจเช็คสุขภาพหัวใจ 108health ขอแนะนำ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพค่ะ ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานมีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศสามารถให้คำปรึกษาหรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดให้ได้อย่างทันท่วงทีอีกทั้งยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ด้วยกันอีกด้วยถือได้ว่าเป็นการให้บริการด้านโรคหัวใจในทุกด้านอีกด้วยค่ะ อย่าลืมให้ความสำคัญกับหัวใจดวงเดียวของเรากันด้วยนะคะ
ขอบคุณที่มา : www.bangkokhospital.com