เนื่องด้วยในเดือน วัยทอง…วัยงามแห่งชีวิต เพื่อที่ท่านผู้อ่านสามารถจะนำไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพคุณแม่ อันเป็นที่รักของท่าน…ว่าเราควรดูแลท่านอย่างไร เพราะฮอร์โมนและสุขภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย…
วัยทอง…คืออะไร
วัยทองในผู้หญิง ก็คือวัยหมดประจำเดือนในอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 49 ปี เมื่อถึงวัยนี้รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมนเพศนี้มีชื่อว่า เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโร จึงทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
จะทราบได้อย่างไรว่าเริ่มเข้าสู่วัยนี้แล้ว
สตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการผิดปกติต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในตอนแรกควรจะสงสัยว่า เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือสตรีที่แม้ไม่มีอาการอะไรเลย แต่ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันนาน 1 ปี ก็ถือว่า หมดประจำเดือนแน่นอน ในกรณีที่ต้องการทราบผลแน่ชัด สามารถทราบได้โดยการเจาะเลือดหาระดับฮอร์โมน เอสโตรเจน และระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
อาการในวัยทอง
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- อาการร้อนวูบวาบ โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอจะแดง เหนื่อยง่าย ใจสั่น มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือบางคนมีอาการหนาวสั่น
- ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง หรือเหมือนมีมดไต่ หรือมดกัดตามผิวหนัง
- เส้นผมจะหยาบแห้ง และบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางามเหมือนก่อน
- มีอาการทางกล้ามเนื้อ และผิวหนัง ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
- มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
จะดูแลตนเองอย่างไรในวัยหมดประจำเดือน
- อาหารภนอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว สตรีวัยทองควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทาน จะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนนอกจากนี้ ควรจะควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด โดยงดรับประทานอาหารที่มีโคลเลสเตอรอลสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอภเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ เป็นต้น
- ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้งภตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density)
- ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน
การให้ฮอร์โมนทดแทนมีประโยชน์อย่างไร
การให้ฮอร์โมนทดแทน คือภการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ เพื่อชดเชยเอสโตรเจนที่ลดระดับลงไป จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากการหมดประจำเดือน
การให้ฮอร์โมนทดแทนมีผลเสียหรือไม่
นอกจากข้อดีของฮอร์โมนทดแทนแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือ ถ้าใช้เป็นระยะเวลานานๆ จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ถึงแม้ว่าจะพบน้อยก็ตาม ดังนั้นในสตรีที่ยังมีมดลูกอยู่ แพทย์จะให้ฮอร์โมนทดแทนในรูปแบบของเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสโตเจน ทั้งนี้เพราะ ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนจะต้านฤทธิ์ของเอสโตรเจน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาตัว ส่วนเรื่องของมะเร็งเต้านมนั้น มีข้อขัดแย้งกันมากว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ แต่ปัจจุบันผลการศึกษาวิจัยมีแนวโน้มว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนไม่ทำให้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สตรีที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน ควรจะได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอจากแพทย์ ไม่ควรไปซื้อยาเอง เพื่อแพทย์จะได้ให้การวินิจฉัย และรักษาแต่เนิ่นๆ เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ