สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด การมีสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ดีนั้นจัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการมีสุขภาพร่างกายที่ดี เพราะหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนและนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆของร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นเมื่อไรที่หัวใจทำงานได้ไม่ดีพอก็จะส่งผลระบบต่าง ๆของร่างกายทำงานได้ไม่ดีพอ เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพหัวใจจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น หรือการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดเช่น โคเอนไซม์คิวเท็น น้ำมันปลา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นต้น
สารอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
1. โคเอ็นไซม์คิวเท็น
โคเอ็นไซม์คิวเท็นจัดเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติที่ละลายในน้ำมัน มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) และสำคัญต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของทุกระบบในร่างกาย เนื่องจากเป็นสารที่สำคัญมากต่อกระบวนการสร้างพลังงานของแต่ละเซลล์ อย่างไรก็ตามเมื่ออายุเพิ่มขึ้นร่างกายก็จะมีความสามารถในการผลิตโคเอ็นไซม์คิวเท็นน้อยลง รวมถึงยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้ร่างกายต้องได้รับโคเอ็นไซม์คิวเท็นมากขึ้น ดังนั้นการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
กลไกการทำงาน
เนื่องจากโคเอ็นไซม์คิวเท็น เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์หรืออวัยวะที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งนั้นรวมถึง เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นการเสริมด้วยโคเอ็นไซม์คิวเท็นจึงเป็นการเสริมพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้มีพลังงานมากพอที่จะบีบตัวหรือคลายตัวและสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
กลไกการทำงาน
สารสกัดจากเมล็ดองุ่นจะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนของโลหิต ส่งเสริมให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย เนื่องจาก OPCs สามารถรวมตัวกับคอลลาเจนของผนังหลอดเลือดได้ดี จึงป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดหรือโป่งพองได้
3. โพลิโคซานอล
กลไกการทำงาน
โพลิโคซานอลเป็นสารสกัดที่พบได้จาก ไขเปลือกอ้อย (Saccharum Officinarum,L.) โดยจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า โพลิโคซานอลสามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีของหัวใจและหลอดเลือดได้โดย ลดไขมันคอเลสเตอรอลทั้ง LDL และคอเลสเตอรอลชนิดรวมโดยการปรับสมดุลการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยการลดการสร้างสารทีก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันกรจับตัวเป็นก้อนของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด
4. ไฟโตสเตอรอล
กลไกการทำงาน
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) เป็นสารจำพวกสเตอรอลที่พบในพืช ผักและผลไม้ จัดเป็นสารประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคอเลสเตอรอลที่พบในสัตว์ ซึ่งไฟโตสเตอรอลสามารถลดและควบคุมระดับของ LDL Cholesterol (คอเลสเตอรอลชนิดร้าย) และTotal Cholesterol (คอเลสเตอรอลโดยรวม) ได้โดยอาศัยลักษณะโครงสร้างที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล ดังนั้นไฟโตสเตอรอลจึงเข้าไป ขัดขวางกระบวนการดูดซึมของคอเลสเตอรอลที่มาจากอาหาร ให้เข้าสู่ร่างกายน้อยลง ส่งผลให้คอเลสเตอรอลลดลงกว่า 17% ของปริมาณคอเลสเตอรอลที่ควรจะได้รับจากอาหารทั้งหมด
5. น้ำมันปลา
หากกล่าวถึงปัญหาหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดคงหนีไม่พ้นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ซึ่งเป็นเหล่าศัตรูตัวร้ายที่คอยเกาะและจับอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดซึ่งจะนำมาสู่การอุดตัดของหลอดเลือดและเป็นสาเหตุหลักของภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือเส้นเลือดในสมองแตก
กลไกการทำงาน
ช่วยลดและควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ รวมไปถึงคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในภาวะที่ปกติ นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังเกี่ยวข้องกับความข้นเหลวของเลือด และการแข็งตัวของเลือด ให้ทำงานอย่างเป็นปกติ รวมทั้งมีผลขยาย หลอดเลือดแดง ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะอื่นมากขึ้น