ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง

โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จัดเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากกลุ่มของไขมันดังกล่าวจะไปก่อให้หลอดเลือดมีการอุดตันหรือเปราะและแตกหักได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจ สมองและอวัยวะอื่น ๆ ได้ตามปกติ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

สารอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

                    1. โพลิโคซานอล
กลไกการทำงาน
โพลิโคซานอลเป็นสารสกัดที่พบได้จาก ไขเปลือกอ้อย (Saccharum Officinarum,L.) โดยจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า โพลิโคซานอล สามารถส่งเสริมสุขภาพที่ดีของหัวใจและหลอดเลือดได้โดย ลดไขมันคอเลสเตอรอลทั้ง LDL และคอเลสเตอรอลชนิดรวมโดยการปรับสมดุลการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยการลดการสร้างสารทีก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด

                    2. ไฟโตสเตอรอล
กลไกการทำงาน
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)เป็นสารจำพวกสเตอรอลที่พบในพืช ผักและผลไม้ จัดเป็นสารประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช ซึ่งมีลักษณะคล้าย กับคอเลสเตอรอลที่พบในสัตว์ ซึ่งไฟโตสเตอรอลสามารถลดและควบคุมระดับของ LDL Cholesterol (คอเลสเตอรอลชนิดร้าย) และTotal Cholesterol (คอเลสเตอรอลโดยรวม) ได้โดยอาศัยลักษณะโครงสร้างที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล ดังนั้นไฟโตสเตอรอลจึงเข้าไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมของคอเลสเตอรอลที่มาจากอาหารให้เข้าสู่ร่างกายน้อยลง ส่งผลให้คอเลสเตอรอลลดลงกว่า 17%ของปริมาณคอเลสเตอรอลที่ควรจะได้รับจากอาหารทั้งหมด

                   3. แกมมา โอริซานอล
สารอาหารที่พบได้มากทั้งในจมูกข้าวและรำข้าว คุณสมบัติที่สำคัญคือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน จนหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้ขึ้นทะเบียนให้สารอาหารชนิดนี้เป็นยาเพื่อใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ
กลไกการทำงาน
ควบคุมคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติทั้งคอเลสเตอรอลชนิด แอลดีแอล (LDL- Cholesterol) และคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol) ใด้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเร่งกระบวนการกำจัดคอเลสเตอรอลให้เร็วขึ้น รวมทั้งไปยับยั้งกระบวนการดูดซึม คอเลสเตอรอลไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
ยับยั้งการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย

                 4. น้ำมันปลา
หากกล่าวถึงปัญหาหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดคงหนีไม่พ้นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ซึ่งเป็นเหล่าศัตรูตัวร้ายที่คอยเกาะและจับอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดซึ่งจะนำมาสู่การอุดตัดของหลอดเลือดและเป็นสาเหตุหลักของภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือเส้นเลือดในสมองแตก
กลไกการทำงาน
ช่วยลดและควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ รวมไปถึงคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในภาวะที่ปกติ นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังเกี่ยวข้องกับความข้นเหลวของเลือด และการแข็งตัวของเลือด ให้ทำงานอย่างเป็นปกติ รวมทั้งมีผลขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะอื่นมากขึ้น

                  5. เลซิติน
กลไกการทำงาน
เนื่องจากคุณสมบัติที่คอเลสเตอรอลไม่ละลายในน้ำ จึงส่งผลให้คอเลสเตอรอลจับตัวและตกตะกอนอยู่ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือด ดังนั้นด้วยคุณสมบัติที่สำคัญของเลซิตินคือ การเป็นอีมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) จึงช่วยให้ คอเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไม่เกิดการอุดตันของคอเลสเตอรอลรวมถึงการไหลเวียนของเลือดดีขึ้นด้วย

                   6. ไฟเบอร์

กลไกการทำงาน
สุขภาพร่างกายที่ดีนั้นทุกระบบต้องทำงานประสานกันอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งระบบการขับถ่ายก็เป็นอีกระบบที่สำคัญ ดังนั้นการรับประทานเส้นใยอาหารจึงเป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้นโดยเส้นใยอาหารจะทำหน้าที่โอบอุ้มน้ำซึ่งทำให้อุจจาระมีความนุ่มขึ้นขับถ่ายสะดวกขึ้น นอกจากนี้เส้นใยอาหารยังช่วยเกาะเกี่ยวพวกสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายอีกด้วย

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้