สาระดีต้องรู้! โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
รู้หรือไม่? ว่า … ปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย จากตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุขปี 2560 โรคหัวใจล้มเหลวอยู่ในอันดับที่ 2 (http://hdcservice.moph.go.th) จะสังเกตได้ว่า โรคเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเมืองไทย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
เห็นไหมคะว่า หัวใจ มีความสำคัญกับร่างกายเราแค่ไหน ถ้าไม่ดูแลสุขภาพหัวใจเป็นอย่างดี โรคร้ายเหล่านี้อาจจะถามหาได้ง่ายๆ และมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยค่ะ โดยเฉพาะ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” ที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากที่สุด
สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้น พบว่าอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป โดยหันมานิยมอาหารจานด่วนที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดตมากขึ้น ขณะเดียวกันไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ออกกำลังกายน้อยลงและมีความเครียดมากกว่าอดีตก็มีส่วนช่วยให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ง่ายมากขึ้นค่ะ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้น เกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือด เป็นผลมาจากการมีไขมันและการสะสมของหินปูนไปเกาะเส้นเลือดแดง จนเกิดการอุดตันหรือเส้นเลือดแตก ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ส่วนเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น
อาการ
อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันบางรายอาจจะไม่แสดงอาการ แต่ที่พบมากที่สุด คือ อาการเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนักๆ กดทับตรงกลางหน้าอก คล้ายช้างมาเหยียบ หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
การรักษาที่ได้รับความนิยมใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาส”
โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้ายและเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านใน มาเย็บต่อเส้นเลือด เพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ
“กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาเพื่อช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียวก็ทานยาหรือใส่ขดลวดบอลลูนได้”
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม(Off-Pump CABG) หรือแบบ “ไม่
ต้องหยุดหัวใจ” - การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม(On Pump CABG)
เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด
โดยทั่วไปแพทย์หัวใจจะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด แต่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แพทย์หัวใจจะมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดบายพาสแบบหัวใจยังเต้นอยู่ โดยใช้เครื่องมือเกาะยึดหัวใจให้หยุดนิ่ง ข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม แต่อาจพบได้ 2-3% กรณีผู้ป่วยมีปัญหาโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น ไตวายชั่วคราว stroke หลังผ่าตัด เลือดไม่แข็งตัวทำให้เลือดออกไม่หยุด เป็นต้น
นอกจากนั้นการผ่าตัดบายพาสแบบไม่หยุดหัวใจ ยังทำให้ใช้ปริมาณเลือดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบให้สั้นลง ตลอดจนระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลก็สั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นการเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด ให้การดูแลรักษาโดยทีมแพทย์สหสาขา ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐาน ความพร้อมของทีมพยาบาล และทีมสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้มีความปลอดภัยในขณะพักฟื้น เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด เน้นการให้บริการและการดูแลที่เอาใจใส่ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด ด้วยบริการ 24/7 Heart Care Emergency Service ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคหัวใจตลอด 24 ชม. ทุกวัน แม้ในเวลากลางคืน ยิ่งรักษาให้เร็วจะลดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจน้อยที่สุด
ขอบคุณที่มา : http://www.bangkokhospital.com/hearthospital