บทความสุขภาพ 4 โรคอันตราย ที่มาจาก “ยุง”

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยเกือบจะทุกวันจนเกิดน้ำท่วมขังอยู่ทั่วไป และนั่นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีให้กับศัตรูตัวร้ายอย่าง “ยุง” ซึ่งโดยปกติแล้ว ยุงจะมีวงจรชีวิตในช่วงระหว่างเป็นไขถึงโตเต็มวัยอยู่ที่ 9-14 วัน และยุงตัวเมียเท่านั้นที่จะดูดเลือดเป็นอาหารส่วนยุงตัวผู้จะใช้น้ำหวานจากเกสรดอกไม้เป็นอาหารเท่านั้นและนอกจากนั้นยุงตัวเมียที่โตเต็มวัยจะมีอายุได้ยาวนานถึง 1-3 เดือนเลยทีเดียว ส่วนตัวผู้จะมีอายุแค่ 6-7 วันเท่านั้น แต่ที่น่าทึ่งคือ ไข่ของยุง ยุงจะวางไข่ในน้ำนิ่ง ไข่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ ยุงบางชนิดใช้เวลาจากการวางไข่และฟักตัวเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งการวางไข่ของยุงแต่ละครั้งจะมีจำนวนไข่ 50 ถึง 300 ฟอง และ ยุงตัวเมีย 1 ตัว ตลอดชีวิตจะสามารถวางไข่ได้ 1-7 ครั้งเลยทีเดียว ที่สำคัญ ไข่ของยุงจะทนต่อสะภาวะแห้งแล้งได้นานหลายเดือนและหากได้รับความชื้นหรือมีน้ำท่วมไข่อีกครั้ง ไข่ก็จะสามารถฟักตัวได้ภายในระยะเวลา 20-60 นาทีเท่านั้น

และนั่นก็คงไม่แปลกที่ช่วงนี้เมื่อตกดึกทีไร เจ้าตัวร้ายอย่างยุงนั้นจะบินกันว่อนเต็มไปหมด และดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นมากขั้นทุกวัน และหากเราโดนยุงกัน แน่นอนอาการที่ตามมาก็คืออาการคันบริเวณที่ถูกยุงกัด ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นแค่เรื่องลำคาญนิดๆหน่อยๆ แต่อย่าชะล่าใจไป นอกจากอาการคันที่ทำให้แค่ลำคาญนั้นแต่ยุงยังเป็นพาหะนำโรคที่ร้ายแรงพอที่จะคร่าชีวิตคนได้เลยทีเดียววันนี้ 108health จึงมีข้อมูลโรคระบาดที่เกิดจากยุงที่เป็นพาหะนำโรคมาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันเพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตุอาการและป้องกันโรคเหล่านี้จากยุงตัวร้ายกันค่ะ

โรคที่เกิดจาก “ยุง” เป็นพาหะนำโรค

4 โรคร้ายจากยุง
4 โรคร้ายจากยุง

1. โรคไข้เลือดออก

  • สาเหตุ   เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  • อาการ   หลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดประมาณ 5-8 วันจะมีอาการไข้สูงลอย (38.5-40 อาศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดเบ้าตา บางรายมีอาการปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร มีจุดแดงเล็กๆ ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาไหลและเลือดออกตามไรฟัน อาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด แต่มักไม่ไอและไม่มีน้ำมูก
  • สัญญานอันตรายในช่วงไข้ลด หากมีอาการซึม   อ่อนเพลียมาก กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาเร็ว ปวดท้องกระทันหัน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หากมีอาการดังกล่าวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากผู้ป่วยอยู่ในความดูแลของแพทย์ได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที โอกาศเสียชีวิตจากโรคนี้จะมีน้อยมาก
  • การป้องกันโรค   เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีน วิธีป้องกันคือ ป้องกันยุงกัด ขจัดลูกน้ำ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

 2. โรคไข้สมองอักเสบ

  • สาเหตุ   เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคซึ่งมักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา ยุงชนิดนี้ได้รับเชื้อไข้สมองอักเสบ เจ อี ขณะกินเลือดสัตว์ โดยเฉพาะหมูเป็นแหล่งโรคสำคัญ จากนั้นเมื่อยุงมากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายทำให้คนติดเชื้อได้
  • อาการ   ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีษะมาก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หากอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต บางรายเมื่อหายป่วยอาจมีอาการพิการทางสมองสติปัญญาเสื่อมหรือเป็นอัมพาตได้
  • การป้องกัน   โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และการฉีดวัคซีนป้องกัน ดังนั้นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับวัคซีน เช่น เด็กเล็ก ผู้ปกครองต้องพาไปรับวัคซีน ที่สถาณพยาบาลใกล้บ้าน

 3. โรคมาลาเลีย

  • สาเหตุ   เกิดจากเชื้อโปรโตชัว โดยมียุงก้นป่องที่อาศัยในป่าเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงนำเชื้อกัดประมาณ 15-30 วัน จะมีอาการป่วย
  • อาการ   โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน โดยอาการของผู้ป่วยคือมีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ในรายที่รุนแรงจะมีอาการซีดลง เหลืองมากขึ้น ซึม มีภาวะไตวาย ถ้ารุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้
  • การป้องกัน   ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ในการป้องกันโรคนี้ การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ประเทศไทยไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกัน เนื่องจากไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสูงและก่อให้เกิดปัญหาการดื้อของเชื้อมาลาเลียต่อยาได้ง่าย

 4. โรคเท้าช้าง

  • สาเหตุ   โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลม ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงที่กัดคนที่ติดเชื้อจะรับเชื้อไปและเมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่น
  • อาการ   ผู้ป่วยจะมีไข้ เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองโดยมากจะเกิดอาการที่ บริเวณขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อนำเชื้ออสุจิ แหล่งพักน้ำเชื้อและเต้านม โดยเฉพาะที่ท่อนำเชื้ออสุจิพบตัวอ่อนพยาธิบ่อยและมากที่สุด ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการลมพิษร่วมด้วย ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันเหล่านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ
  • การป้องกัน   การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดและการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ การป้องกันโดยการลดจำนวนยุงจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อจะมีอายุนาน 4-6 ปี ดังนั้นการควบคุมยุงจะต้องทำนานและต่อเนื่องมากกว่า 6 ปี ซึ่งเป็นไปได้ยาก

 

ที่นี้เพื่อนๆเห็นถึงอัตรายที่มากับเจ้าตัวร้ายตัวเล็กๆอย่าง “ยุง” แล้วใช่ไหมคะ ซึ่งในช่วงที่ฝนตกเยอะๆมีน้ำขังเยอะๆและเจ้ายุงตัวร้ายก็มีจำนวนเยอะแบบนี้เราจึงควรป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัดและช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีการ 5 ป. ก็คือ

  1. ปิดภาชนะที่ใส่น้ำไว้ใช้ทุกชนิด ป้องกันการวางไข่ของยุง
  2. เปลี่ยนน้ำในแจกันหรือกระถางต้ไม้ทุก 7 วัน เพื่อป้องกันการฟักตัวของไข่ยุง
  3. ปล่อยปลากินลูกน้ำในแหล่งน้ำที่เก็บอย่างถาวรเช่น อ่างบัว
  4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปรอดโปร่งโล่งสะอาดมีลมพัดผ่าน เพื่อไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุง
  5. ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย

สุดท้ายนี้ 108health ก็ขอให้ให้เพื่อนๆปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆและมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์นะค่ะ

 

 

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้