8 วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบ โรคที่ติดต่อง่ายกว่าโรคเอดส์ 100 เท่าตัว

กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายภัยเงียบ “เชื้อไวรัสตับอักเสบ” โดยเฉพาะ ชนิดบี ชนิดซี   เป็นตัวการก่อมะเร็งตับ ตับแข็ง  ติดต่อกันง่ายทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี 50-100 เท่าตัว

เชื้อไวรัสตับอักเสบที่เป็นปัญหาทั่วโลกและในไทยคือ ไวรัสชนิดบี รองลงมาคือชนิด ซี  เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ติดต่อคนอื่นคล้ายเชื้อเอชไอวี ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์  คือติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสสารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธ์ และติดต่อจากแม่สู่ลูก   แต่จะติดกันง่ายกว่าเชื้อเอชไอวีถึง 50-100 เท่าตัว    เชื้อมีความทนทานและสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน   มีระยะฟักตัว 1-6 เดือน เฉลี่ยนาน 3 เดือน   มีการคาดการณ์ว่าขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ประมาณ 2,000 ล้านคน  ในจำนวนนี้ประมาณ 240 ล้านคน จะกลายเป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และเสียชีวิตปีละประมาณ 6 แสนคนจากโรคตับแข็งและมะเร็งตับ  ส่วนคนไทยในผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป มีอัตราติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยไม่แสดงอาการป่วย ประมาณร้อยละ 2-5  ประมาณได้ว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบราว 1-2 ล้านคน และในอนาคต คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับปีละประมาณ 250,000 คน

ในการป้องกันโรคตับอักเสบ ขอให้ประชาชนปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ลดละการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  2. ใช้ถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์กับต่างเพศ หรือรักร่วมเพศก็ตาม จะปลอดภัยจากโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิด รวมทั้งป้องกันการตั้งครรภ์
  3. ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  4. ไม่สัก ฝังเข็ม หรือเจาะ เช่น เจาะหู ในร้านที่ไม่มีมาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น มีดโกนหนวด มีดโกน กรรไกตัดเล็บ
  6. กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารปรุงสุกด้วยความร้อน โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบจะตายเมื่อถูกความร้อน 100 องศาเซลเซียส
  7. ล้างผักสดและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  8. ไม่ถ่ายอุจจาระลงน้ำ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงส้วม ซึ่งมีระบบเก็บกักอุจจาระมิดชิด ไม่แพร่กระจายสิ่งแวดล้อม

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จะมีอาการดีซ่าน คือตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดท้องบริเวณชายโครงขวา อาการตัวเหลืองตาเหลืองอาจเป็นนานหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะหายขาด แต่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจจะกลายเป็นพาหะโรค คือสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ โดยไม่มีอาการป่วย หากติดเชื้อในช่วงอายุ 1 ปีแรก มีความเสี่ยงต่อการกลายเป็นผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ร้อยละ 90 หากติดในช่วงอายุ 1-4 ปี จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อเรื้อรังร้อยละ 30-50 และหากติดในวัยผู้ใหญ่ จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อเรื้อรังร้อยละ 10 หากประชาชนสนใจข้อมูลเพิ่มเติมให้สอบถามที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422

 

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้