ส่องค่าใช้จ่ายและวิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ส่องค่าใช้จ่ายและวิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง

       “ผู้สูงอายุ” ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มที่มีความเปราะบางและความเสี่ยงทางด้านสุขภาพค่อนข้างสูง จากข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยสังคมและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 17% ของจำนวนประชากร สาเหตุหลักมาจากอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง และคนมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้น

       นอกจากนี้ ยังมีการประมาณการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุราว 20.5 ล้านคนหรือร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับเป็นอัตราที่เพิ่มสูงมาก ดังนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นของคู่กายกับผู้สูงวัยและมากกว่านั้นคือค่าใช้จ่ายในการดูแลที่เพิ่มเข้ามาตามอาการ หากผู้สูงอายุเหล่านั้นช่วยเหลือตนเองไม่ได้จนเป็นผู้ป่วยติดเตียง

ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
       ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมากๆ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว และผู้สูงอายุ โดยปกติค่าบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง จะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 36,000 บาทต่อเดือน เฉลี่ยวันละ 900-2,000 บาท ราคานี้เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะการดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร, ยา, การอาบน้ำ, การทำความสะอาดหลังขับถ่าย ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ รวมถึงการพลิกตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

       แต่ในกรณีที่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงเริ่มมีแผลกดทับ ต้องใช้ผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เช่น ผู้ช่วยพยาบาล หรือ พยาบาลวิชาชีพ จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมอีกวันละตั้งแต่ 500-1,000 บาท เมื่อคิดรวมกับค่าบริการดูแลในชีวิตประจำวันแล้วอาจสูงถึงเดือนละ 65,000 บาท โดยตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมค่ายา, น้ำยา และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำแผล รวมถึง ค่าใช้จ่ายแฝงที่ เช่น ค่าอาหารผู้ดูแล,
ค่าโอที กรณีที่ต้องอยู่ล่วงเวลาหรือวันหยุด, ค่าเดินทาง ในกรณีที่ผู้ดูแลไม่ได้พักที่บ้าน, ค่าทำสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมแล้วอาจสูงถึง  7,000-15,000 บาท

ดูแลถูกวิธี ค่าใช้จ่ายไม่บาน
       เมื่อค่าใช้จ่ายในการดูแลโดยผู้ชำนาญการค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนเลือกที่จะดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ด้วยตัวเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทั้งความเข้าใจ และความใส่ใจ เพื่อป้องกันและลดการเกิดแผลกดทับ และโรคแทรกซ้อนต่างๆ วันนี้ 3เอ็ม คาวิลอน จะมาแนะนำสิ่งที่จำเป็นในการดูแล

       เริ่มตั้งแต่การทำความสะอาดร่างกาย เพราะความสะอาดถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงการดูแลผิวหนังให้สะอาดแข็งแรงโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน พร้อมทาโลชั่นสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิว รวมถึง ใช้ครีมเคลือบผิวป้องกันความเปียกชื้นใต้ผ้าอ้อมและจุดอับชื้น เป็นต้น

       นอกจากนี้ ควรหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยที่นอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ ทุกๆ 2 ชั่วโมง เพราะบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูก เช่น ท้ายทอย สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า มักจะขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง ทำให้เซลล์ตาย และควรตรวจดูรอยแดงตามปุ่มกระดูก หาอุปกรณ์เสริมลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก เป็นต้น

 

ใส่ใจผิวแบบผู้เชี่ยวชาญ

       “การดูแลผู้ป่วยติดเตียง” ไม่เพียงใช้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดี แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและความเจ็บปวดจากแผล และลดภาระค่าใช้จ่ายการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล การรักษาที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อทั้งสุขภาพใจและสุขภาพกายของผู้ป่วยได้ด้วย

       ดังนั้น เราควรเริ่มต้นป้องกันก่อนเกิดปัญหา ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ในการดูแลผิวหนังผู้ป่วย 3เอ็ม คาวิลอน สกินแคร์ ชุดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนัง ป้องกันการอักเสบของผิวผู้ป่วยที่เกิดจากการขับถ่าย ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลผิวที่บอบบางของผู้ป่วยโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งขั้นตอนการทำความสะอาด และให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง รวมถึงเคลือบเพื่อป้องกันผิวอีกด้วย

  1. ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำเปล่า หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH 5.5 โดยเน้นการทำความสะอาดอย่างอ่อนโยน ซับให้แห้ง ไม่ขัดถู เพื่อป้องกันผิวหนังถลอก หรือฉีกขาด
  2. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยด้วย ครีมเข้มข้นที่มีค่า pH 5.5 เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการเกิดผิวหนังแตกแห้งเป็นขุย จากการทำความสะอาด
  3. เคลือบป้องกันความเปียกชื้นด้วยครีมเคลือบผิวที่มีส่วนประกอบของสารกันน้ำ เหมือนเป็นฟิล์มเคลือบผิว ลดการระคายเคืองจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น อุจจาระหรือปัสสาวะ

       การดูแลผิวหนังผู้ป่วยสูงอายุให้แข็งแรง ด้วยความใส่ใจของผู้ดูแลจะช่วย “ป้องกันการเกิดแผลกดทับ” อย่างรอบด้าน และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ห่างไกลจาก “แผลกดทับ” ได้

       สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามเคล็ดลับ “การดูแลผู้ป่วยติดเตียง” และ “การป้องกันแผลกดทับ” แบบผู้เชี่ยวชาญจาก 3เอ็ม คาวิลอน (3M Cavilon) เพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/vIuyk2Xr3SY

###

**ขอบคุณข้อมูลจาก 3เอ็ม คาวิลอน

แชร์:

ใส่ความเห็น