โรคลมชัก (Epilepsy)

นพ.เจษฎา ทวีโภคสมบูรณ์
แพทย์ประจำศูนย์ระบบประสาทและสมอง

โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดจาก ความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าภายในสมอง มักจะเป็นพักๆ (ช่วงเวลาสั้นๆ) และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง ยกเว้นภาวะชักต่อเนื่อง (Status epilepticus) แต่เดิมคนไทยเคยเรียกว่าโรคลมบ้าหมู แต่ปัจจุบันใช้คำว่าโรคลมชัก และในอนาคตมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เป็นโรคคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติแทน (Abnormal brain wave)
 
ที่เปลี่ยนชื่อเนื่องจากอาการของโรคลมชักไม่จำเป็นต้องมีอาการชักเกร็งหรือกระตุกของกล้ามเนื้อ แต่อาการผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด คืออาการเหม่อลอย อาจมีตาค้างหรือตาเหลือก และเรียกไม่รู้สึกตัว ดังนั้นการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักอาจสร้างความเข้าใจผิดว่าต้องมีอาการชักเกร็ง กระตุกของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในแง่การเข้าสังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ป่วย
01
ผู้ป่วยจะต้องมีการชักโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือชักครั้งแรกแต่มีโอกาสที่จะชักซ้ำสูง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการชักครั้งแรก จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินว่าจะมีโอกาสชักซ้ำมากเท่าใด รวมทั้งหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งการประเมินดังกล่าวต้อง อาศัยการซักประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายทางระบบประสาท การตรวจเลือด การตรวจภาพวินิจฉัยสมอง(CT or MRI brain) และที่สำคัญที่สุดคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการตรวจน้ำไขสันหลัง(CSF analysis) จะทำเฉพาะบางกรณี เช่น สงสัยภาวะติดเชื้อในระบบประสาท

Fotolia_60820828_Subscription_XXL

02
คือ แผลเป็นที่เกิดขึ้นบนผิวสมอง ซึ่งอาจเกิดจาก โรคติดเชื้อภายในสมอง ภายหลังอุบัติเหตุทางสมอง ภายหลังจากเลือดออกในสมองหรือหลอดเลือดสมองตีบตัน เนื้องอกภายในสมอง ภาวะชักซ้ำๆหรือภาวะชักต่อเนื่อง สามารถพบในสมองเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่เรียกว่ากลุ่มอาการโรคลมชักในเด็กหรือแม้กระทั่งสมองของผู้สูงอายุที่มีรอยเหี่ยวย่นผิดปกติ อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้ป่วยประมาณ ที่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใดๆ ภายในสมอง

 03

ประกอบด้วย การรับประทานยากันชัก(Anti- epileptic drug) การรักษาสาเหตุที่เฉพาะ และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การอดนอน การออกกำลังกายหักโหม ยาบางชนิด การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด ภาวะตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะสามารถหายขาดจากโรคลมชักโดยประมาณ ส่วนกลุ่มที่เหลืออีก จะเรียกว่าภาวะที่ดื้อต่อยากันชัก ซึงปัจจุบันสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด(Epilepsy surgery) อย่างไรก็ตามการผ่าตัดรักษาโรคลมชักยังมีอีกหลายวิธี ซึ่งมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละรายไป จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลโรคลมชักเป็นหลักจะสามารถแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้

e_abpstuwy3568

04

ให้นำผู้ป่วยลงที่ต่ำ ระวังอุบัติเหตุจากการกระแทกของแข็ง  นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก ห้ามใส่อะไรเข้าไปในปากผู้ป่วยโดยเด็ดขาด และต้องป้องกันอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วย สูญเสียความรู้สึกตัว และอย่าไปงัดหรือฝืนร่างกายผู้ป่วยขณะเกร็ง เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายผู้ป่วยมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะหยุดชักได้เองภาย ใน 1-2 นาทีเท่านั้น ในกรณีที่ไม่หยุดชักเองหรือมีภาวะชักต่อเนื่องให้รีบส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันทีเพราะต้องรีบให้ยาระงับชักโดยเร่งด่วน ส่วนตัวผู้ป่วยเอง ก็ต้องพึงระวังกิจกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น การขับรถ การว่ายน้ำ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและ ที่สูง

ธนบุรี1

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้