“ริดสีดวงทวาร” เป็นโรคที่พบบ่อย ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดแดงสด หรือมีก้อนโผล่ขณะถ่ายอุจจาระโดยเชื่อว่าริดสีดวงทวารเกิดจากการหย่อนตัวหรือฉีกขาดของเนื้อเยื่อสำหรับการดึงรั้งเยื่อบุผิวทวารหนัก ทำให้ริดสีดวงทวารหย่อนโผล่ออกมาภายนอก โดยทฤษฏีใหม่ล่าสุด ของการเกิดริดสีดวงทวารหนักนั้น เชื่อว่าการเบ่งอุจจาระแรงมากๆ ภาวะท้องผูก ความดันจากการเบ่งที่สูงขึ้น และอุจจาระก้อนใหญ่จะดันให้เบาะรองเลื่อนลงมาเรื่อยๆ จนยื่นออกนอกทวารหนัก เรียกริดสีดวงทวารหนักชนิดภายใน (Internal Hemorrhoid)
ส่วนของทวารหนักที่อยู่ใต้ต่อแนวเส้นประสาท จะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง เรียกว่า ปากทวารหนัก เมื่อเบาะรองจากบริเวณรูทวารหนักเลื่อนตัวลงเรื่อยๆ จนถึงปากทวารหนัก ก็จะดันกลุ่มเส้นเลือด และเนื้อเยื่อของปากทวารหนักให้เลื่อนลงต่ำ และเบียดออกไปด้านข้างจนกลายเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายนอก (External Hemorroid) ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นจะมีอาการและปัจจัยเสี่ยงดังนี้
-
- เลือดออกมาตามหลังอุจจาระ
- ก้อนยื่นออกมาจากทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ
- ทวารหนักเปียกแฉะ คันบริเวณรอบปากทวารหนัก
- เจ็บปวดบริเวณทวารหนัก โดยเฉพาะเวลาถ่ายอุจจาระ
- คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนัก
-
- ภาวะท้องผูกเรื้อรัง
- ท้องเสียถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ
- อุปนิสัยเบ่งอุจจาระอย่างมากเพื่อพยายามขับอุจจาระก้อนสุดท้ายให้ออกไป
- อุปนิสัยใช้เวลานั่งถ่ายอุจจาระนาน เช่น อ่านหนังสือขณะถ่ายอุจจาระ
- ชอบใช้ยาสวนอุจจาระ หรือยาระบายพร่ำเพรื่อ
- หญิงตั้งครรภ์ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก
- ภาวะโรคตับแข็งทำให้เลือดดำไหลเข้าตับไม่ได้ทำให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง
- อายุสูงวัยขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยานลงจนทำให้เบาะรองเลื่อนลงมาจนยื่นออกมาจากทวารหนัก
- โดยไม่ทราบสาเหตุพบว่าบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นริดสีดวงทวารหนัก จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าปกติ
ระยะของริดสีดวงทวารหนัก | แนวทางการรักษา |
ระยะที่ 1 หัวริดสีดวง จะอยู่ภายในรูทวารหนักมักมีปัญหาเลือดออก |
|
ระยะที่ 2 หัวริดสีดวงที่อยู่ภายในจะโผล่ออกมาเมื่อถ่าย อุจจาระและหดกลับได้เอง |
|
ระยะที่ 3 และ 4 หัวริดสีดวงยื่นออกมาใหญ่มากเกินกว่าจะหดกลับได้เอง |
|
การทำงานของเครื่องมือตัดเย็บ
- การผ่าตัดใช้หลักในการตัดเนื้อเยื่อทวารหนักส่วนเกินและเย็บดึงรั้งริดสีดวงทวารส่วนที่เหลือขึ้นไปในทวารหนัก ส่วนของเบาะรองที่ยังเหลือยื่นยาวอยู่ จะถูกตัดทิ้งด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ ในตำแหน่งที่สูงกว่าแนวเส้นประสาทรับความรู้สึก ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บปวด จึงทำให้เกิดอาการเจ็บหลังผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดปกติ
- 1.ตัดริดสีดวงทวารหนักออกได้หมดโดยไม่เกิดรูทวารหนักตีบตัน
- 2.ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
- 3.ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น
- 4.ไม่มีแผลภายนอก ทำให้ไม่ต้องดูแลแผล และหลังผ่าตัดไม่ต้องแช่ก้นด้วยน้ำอุ่นเพื่อล้างแผล
- 5.เวลาในการผ่าตัดสั้นกว่า
- 6.เวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า
สาระดีๆจาก : โรงพยาบาลแมคคอร์มิค