➡ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนย เบเกอร์รี่ เป็นต้น
➡ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ แนะนำให้ออกกำลังกายต่อเนื่อง 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี หรือ HDL ที่จะช่วยพาคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีไปทำลายที่ตับ นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดสูบฉีดดี หัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
➡ รับประทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง
➡ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
➡ เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่จะขัดขวางการทำงานของคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี
➡ ควรเลือกรับประทานสารอาหารทางเลือกที่มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ไฟโตสเตอรอล โพลิโคซานอล เป็นต้น
References:
- Milagros Rocha, Celia Banuls, Lorena Bellod, Ana Jover, Victor M. Victor and Antonio Hernandez-Mijares. A Review on the Role of Phytosterols: New Insights Into Cardiovascular Risk. Current Pharmaceutical Design, 2011, 17, 4061-4075
- Mohammed H. H., Jiri J. Frohlich. (1999). Effect of dietary phytosterols on cholesterol metabolism and atherosclerosis: clinical and exprerimental evidence. The American journal of medicine. 107, 588-594
- Hernandez F, Illnaite J, Mas R, et al. Effect of policosanol on serum lipid and lipoproteins in healthy volunteers. Curr Ther Res Clin Exp 1992;51 :568-575
Comments are closed.