รู้วิธีป้องกัน..โรคจากสมาร์ทโฟน

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาเป็นสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับหลากหลายฟังก์ชั่นที่ดึงดูดใจผู้ใช้ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดไม่ได้ วันไหนลืมโทรศัพท์มือถือคู่ใจไว้ที่บ้านอาจมีอาการหงุดหงิดทั้งวัน หากคุณติดเจ้าโทรศัพท์เครื่องเล็กๆ ขั้นรุนแรง คงต้องรู้วิธีรับมือกับมัน..

phone
โรคที่เกิดจากการเล่นสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน
1.   ดวงตาเมื่อยล้า

วิธีป้องกัน บำรุงสายตา การได้รับสารอาหารประเภทลูทีนช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตา และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยลูทีนนั้นพบมากในพืชผักสีเขียวเข้ม นอกจากนั้น ยังมีบิลเบอรี่สกัด และเบต้าแคโรทีน ที่พบมากในแครอท และฟักทอง
2.  นิ้วล็อค
กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่าตึงเกร็ง

วิธีป้องกันดูแล หมั่นบริหารร่างกาย กำหนดเวลาหยุดพักการเล่นอย่างชัดเจน หากิจกรรมอื่น ๆ ทำบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้เกิดการเคลื่อนไหว เพื่อลดปัญหาการนั่งท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ
3.  เชื้อโรคร้าย
พฤติกรรมการใช้มือถือที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้แค่โทรเข้า-ออก ปัจจุบันเราใช้มือถือปาดไป ปาดมา ทั้งแชท ทั้งเล่นเน็ต ทำให้เราสัมผัสมือถือกันมากขึ้น จึงเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคได้ง่าย

วิธีป้องกันดูแล หมั่นทำความสะอาด เราจึงควรหมั่นเช็ดทำความสะอาดมือถือ และล้างมือตัวเองอยู่เป็นประจำ
4.  ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ
คนที่ชอบเล่นสมาร์ทโฟนตลอดเวลา ทั้งใช้ทำงาน เช็คเมลล์ หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และเล่นเกมส์ แต่ไม่รู้หรอกว่า พฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนนั้นทำให้เครียดโดยไม่รู้ตัว ถ้านึกไม่ออก ลองถามใจตัวเองสิว่า เมื่อสมาร์ทโฟนแบตหมด คุณร้อนใจขนาดไหน

วิธีป้องกันดูแล หมั่นสำรวจตัวเอง เราต้องรู้จักสำรวจตัวเองว่า เราติดโทรศัพท์มือถือมากเกินไปรึเปล่า อาจจะต้องมีการกำหนดช่วงเวลาการใช้ที่ชัดเจน

คอมพิวเตอร์วิชชั่นซินโดรม (Computer vision syndrome) คือ ?
โรคยอดฮิตของวัยรุ่นคนอินเทรนด์ ถือเป็นกลุ่มอาการใกล้ตัวของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต และสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวัง นายแพทย์วรวิทย์ พัชรเกษสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ แพทย์ที่ปรึกษาอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เขต ตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร เผยเทคนิคง่ายๆ ใช้อย่างปลอดภัย ไว้ดังนี้

4 tips ป้องกันโรคจากสมาร์ทโฟน
1.   ควรห่างจากหน้าจอไม่น้อยกว่า 15 นิ้ว
2.  พักสายตาทุกๆ 15 นาที และกะพริบตา 15 ครั้ง เพราะการจ้องมองนานๆ จะทำให้กะพริบตาน้อยลง เกิดอาการตาแห้ง และปวดกระบอกตา
3.  ควรมองต่ำลงเล็กน้อย ทำมุม 15 องศากับหน้าจอ
4.  หน้าจอต้องมีแสงสว่างจ้ากว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ ทดสอบโดยนำกระดาษสีขาวมาเทียบกับหน้าจอ และเห็นว่าหน้าจอสว่างกว่ากระดาษประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ และไม่ควรใช้แทปเล็ตหรือโทรศัพท์ในที่มืด

โรคจากสมาร์ทโฟน-02-02
นอกจากนี้คุณ รู้หรือไม่!! กรุ๊ปเลือดเสี่ยงความจำเสื่อม
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Academy of Neurology ซึ่งกล่าวว่ากรุ๊ปเลือดที่เสี่ยงที่ต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม  นายแพทย์แมรี่ คัสแมน แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์เวอร์มอนต์แห่งเบอร์ลิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “กรุ๊ปเลือดเอบี(AB) มีโอกาสจะมีปัญหาในเรื่องการคิด การจดจำ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนากลายไปเป็นโรคความจำเสื่อมในที่สุด มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นๆมากถึง 82 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นเพราะระดับโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด(Factor VII) ที่มีระดับสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง

และนอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีกรุ๊ปเลือดโอ (O) มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตันน้อยที่สุด ในทางตรงกันข้ามกรุ๊ปเลือดเอบี (AB) มีโอกาสมากที่สุด

อย่าลืม…ดูแลสุขภาพของตัวเองกันด้วยนะคะ อย่าให้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาครอบงำเรา เล่นมือถือพอประมาณ กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ คุณก็จะห่างไกลจากโรคแล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณข้อมมูลดีๆจาก : ชีวจิต

แชร์:

ใส่ความเห็น