สุขภาพวัยรุ่น เมื่อวัยรุ่นเครียด ต้องทำยังไง

สุขภาพวัยรุ่น เมื่อวัยรุ่นเครียด ต้องทำยังไง

สุขภาพวัยรุ่น เมื่อวัยรุ่นเครียด ต้องทำยังไง

ปัจจุบันพบว่า มีข่าวเกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นแก้ปัญหาความเครียดของตนเองด้วยวิธีผิด ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์มากมาย เช่น ทะเลาะทำร้ายร่างกายเพื่อน …

บางคนระบายความเครียดด้วยการหันไปสูบบุหรี่ ดื่มสุราเสพสารเสพติด หรือหากไม่สามารถแก้ปัญหาความเครียดของตนเองได้ ก็ลงท้ายด้วยการทำร้ายตนเอง และฆ่าตัวตาย นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัวของตนเป็นแน่นพ.วิฑูรย์ บอกว่า “ความเครียด” เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดจากบุคคลประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสภาพแวดล้อมว่าอาจจะมีผลกระทบทางลบต่อสุขภาวะของตนเอง หรือความขัดแย้งภายในจิตใจที่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของจิตใจ และมีการแสดงออกทั้งด้านความคิด ความรู้สึก ฯลฯโดยปัญหาที่เป็นสาเหตุทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียด ได้แก่
  1. ปัญหาความสัมพันธ์และความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ครูอาจารย์ เป็นต้น
  2. ปัญหาการเรียนและปัญหาอื่นในโรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักคาดหวังกับลูกวัยรุ่นสูงในเรื่องการเรียน วัยรุ่นที่เรียนไม่เก่ง หรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงมักขาดกำลังใจ
  3. ปัญหาที่เกิดจากตัววัยรุ่นเอง เช่น รูปร่าง หน้าตา ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น ความคิดความรู้สึกต่อตนเองในทางลบ รับผิดชอบกิจกรรมหลายอย่าง การสร้างความคาดหวังจนกลายเป็นความกดดัน และทำให้เกิดความเครียดในที่สุด
  4. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ฐานะทางการเงิน ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เป็นตัวการทำให้เด็กเกิดความต้องการสูง และใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด วัยรุ่นบางส่วนมองเทคโนโลยีเป็นเหมือนเพื่อนที่ปรึกษาทำให้ห่างไกลจากการพูดคุยปรึกษาคนในครอบครัว

พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะสามารถดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลจากความเครียดได้อย่างไร ?
นพ.วิฑูรย์ ให้คำตอบว่า ผู้ปกครองควรติดตามและเฝ้าดูพฤติกรรมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์อย่างใกล้ชิด รับฟังวัยรุ่นด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ไม่สร้างความกดดันหรือความคาดหวังมากเกินไป ฝึกที่จะจัดการกับความเครียดและให้คำแนะนำในการจัดการกับความเครียดได้ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านสังคม เช่น การช่วยเหลือสังคม หรือการเล่นกีฬาแทนที่จะให้เรียนเพียงอย่างเดียว

“ปัญหาความเครียดควรแก้ไขต้องเริ่มต้นจากครอบครัว โดยที่แก้ไขด้วยการสร้างความสุข ความอบอุ่น สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้พวกเขาผ่านพ้นปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความเครียดที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในยุคนี้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย” แพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง กล่าว

นอกจากนี้ ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ยังได้จัดทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น เพื่อเป็นอีกช่องทางแก่สถานศึกษา และครอบครัวสามารถนำไปใช้ประเมินพฤติกรรมของวัยรุ่นว่ามีความเครียดมากน้อยเพียงใด เพื่อได้ทราบถึงปัญหาและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที โดยสามารถเข้าไปประเมินพร้อมดูผลสรุปการประเมินได้ผ่านทาง เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต

ด้วยเหตุนี้ การสร้างพื้นฐานของครอบครัวด้วยความรักความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ เด็ก ๆ วัยรุ่นมีสุขภาพจิตที่ดี และมีภูมิคุ้มกันจากความเครียด พร้อมทั้งเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติที่ดีได้ต่อไป


วัยรุ่น , สุขภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : www.kapook.com
แชร์:

ใส่ความเห็น