สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี เกี่ยวกับ ” โรคต้อหิน”

สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี เกี่ยวกับ ” โรคต้อหิน”

เป็นโรคของดวงตาที่เกิดจากการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงตาอุดตัน ทำให้ความดันในลูกตาสูงผิดปกติ จนทำลายขั้วประสาทตา และมีการสูญเสียลานสายตาอย่างถาวร โดยการสูญเสียลานสายตานั้นจะเริ่มที่ขอบด้านนอกก่อน หากไม่ทำการรักษาจะทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงจนตาบอดได้ในที่สุด

ชนิดของต้อหิน

  1. ต้อหินมุมปิด พบได้ร้อยละ10 ของทั้งหมด ถ้าเป็นเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เมื่อมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาการอาจรุนแรงมากจนเกิดคลื่นไส้ อาเจียน และมักไม่หายด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นชนิดมุมปิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่ทราบและไม่มีอาการ บางคนอาจมีอาการปวดเล็กน้อยเป็นครั้งคราว เป็นๆหายๆอยู่หลายปี และได้รับการรักษาแบบโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน
  2. ต้อหินมุมเปิด  พบได้ร้อยละ60-70 ของทั้งหมด มักไม่มีอาการ ปวดตา หรือ ตาแดง แต่สายตาจะค่อยๆมัวลง  อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันท่วงที ก็จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามหากได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ก็มักจะรักษาสายตาไว้ได้
  3. ต้อหินแทรกซ้อน  ต้อหินชนิดนี้เกิดเนื่องจากมี่ความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่น การอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา เนื้องอก การใช้ยาหยอดตาบางชนิด และภายหลังการผ่าตัดตา เช่น การเปลี่ยนกระจกตา หรือ การผ่าตัดต้อกระจก
  4. ต้อหินในเด็กเล็กและทารก  ต้อหินในเด็กเล็กเกิดร่วมกับความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอดของดวงตา อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย ต้อหินในเด็กเล็กมักพบตั้งแต่แรกเกิด  แม่อาจสังเกตว่า ลูกของตนมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติ กลัวแสง กระจกตาหรือส่วนตาดำจะไม่ใส จนถึงขุ่นขาว และมีน้ำตาไหลมาก หากพบต้องรีบเข้ารับการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน

  1. คนที่มีอายุมากจะมีโอกาสเป็นต้อหิน  มากกว่าคนที่มีอายุน้อย ชนิดมุมเปิด พบมากในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
  2. คนที่มีความดันในลูกตาสูงมีโอกาศเกิดต้อหินได้สูงอาจเป็นเพียงความดันในลูกตาสูงโดยไม่ทำลายขั้วประสาทตา ผู้ป่วยเหล่านี้แพทย์อาจพิจารณาติดตามการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา อย่างไรก็ดีผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจหรือพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อหินในอนาคต
  3. หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหินก็จะมีโอกาสเป็นต้อหินมากขึ้นและควรได้รับการตรวจเป็นระยะ
  4. สายตาสั้นมากหรือยาวมาก คนที่สายตาสั้นมากๆจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคต้อหินชนิดมุมเปิดมากกว่าคนปกติ และคนที่มีสายตายาวมากๆ โดยมีขนาดของลูกตาเล็กกว่าปกติ ก็จะมีโอกาสเป็นต้อหินชนิดมุมปิด
  5. โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง  มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินสูงกว่าปกต
  6. ความผิดปกติทางเลือดและเส้นเลือด  มีหลักฐานชี้บ่งว่าความเข้มข้นของเลือดที่ผิดปกติอาจสัมพันธ์กับโรคต้อหิน  และโรคของเส้นเลือดที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันผิดปกติ  เช่น โรคลูปัส เป็นต้น ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติของเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงขั้วประสาทตา และทำให้เกิดเป็นโรคต้อหินได้
  7. สูบบุหรี่เป็นประจำ
  8. ปัจจัยภายนอกอื่นๆ   เช่นผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม สเตียรอยด์  ผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตาอย่างรุนแรง เป็นต้น
  9. อาชีพหรือกิจกรรมบางประเภท   ที่เพิ่มความดันบริเวณคอและใบหน้า อาจทำให้ผู้ป่วยมีความดันลูกตาสูงขึ้น และทำให้ต้อหินควบคุมได้ยาก เช่น นักดนตรีประเภทเป่า นักดำนำ้  นักยกน้ำหนัก หรือ ผู้ที่เล่นกีฬา ที่ต้องมีการวางตำแหน่งของศีรษะอยู่ต่ำกว่าตัว เช่น โยคะ เป็นต้น

อาการของต้อหิน 

ส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่มีอาการ การดำเนินของโรคจากเริ่มเป็นจนถึงการสูยเสียการมองเห็น ใช้เวลานานเป็นปีๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ต้อหินที่เกิดจากความเสื่อม ซึ่งไม่มีอาการใดๆจนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น  ซึ่งใช้เวลา 5 – 10  ปี จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าจะตรวจพบต้อหินระยะใด เช่น พบตั้งแต่ระยะเพิ่งเริ่มเป็น จะสามารถคุมไว้ได้ และอาจจะไม่สูญเสียการมองเห็น แต่ถ้าตรวจพบต้อหินระยะที่เป็นมากแล้วก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ภายในเวลาเป็นเดือน ก็จะตาบอดได้

การวินิจฉัย

– โดยการซักประวัติทางร่างกาย และประวัติครอบครัว
– การวัดสายตา ขั้นตอนการตรวจหาต้อหินเริ่มแรกจะต้องวัด การมองเห็นก่อนว่าอยู่ในเกณฑ์ ปกติหรือไม่
– การวัดความดันภายในลูกตาเป็นการตรวจที่สำคัญมากของการตรวจต้อหิน เพราะเป็นปัจจัย    เสี่ยงเพียงอย่างเดียวที่ควบคุมได้
– การตรวจดูขั้วประสาทตา และจอตา เป็นการตรวจการทำงาน และรูปร่างลักษณะของขั้ว       ประสาทตา  ซึ่งเป็นอวัยวะที่กระทบกระเทือนโดยตรงจากต้อหิน

Tel : 1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
E-mail : th@thonburihospital.com
http://thonburihospital.com/2015_new/
https://www.facebook.com/thonburihospitalclub
https://www.instagram.com/thonburi_hospital/
LINE : @THONBURIHOSPITAL

 

 

แชร์:

ใส่ความเห็น