สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี ต่อมทอลซิล (Tonsil)

สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี ต่อมทอลซิล  (Tonsil)  

ต่อมทอลซิล

Tonsillitis

ต่อมทอลซิล  (Tonsil)  เป็นต่อมน้ำเหลืองในช่องปาก มีหน้าที่ ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายทางช่องปาก อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยการสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค   และยังทำงานร่วมกับต่อมน้ำเหลืองอีก 2 ต่อม บริเวณคอ คือ ต่อมอีนอยด์ (Adenoid Gland) และต่อมน้ำเหลืองที่โคนลิ้น (Lingual Tonsil)

ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้มากในช่วงอายุ 4 -10 ปี หลังจากนั้นจะมีขนาดเล็กลง แต่ยังคงทำงานเกือบตลอดชีวิต หากมีการติดเชื้อและเกิดการอักเสบขึ้นบ่อยๆ  การอักเสบจะทำให้เม็ดเลือดขาวในต่อมทอนซิลลดลง ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคและสร้างภูมิคุ้มกันจะลดลง และในบางครั้งแทนที่จะเป็นตัวกำจัดโรค แต่อาจเป็นที่เก็บเชื้อโรคไว้แทน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบซ้ำได้อีก

อาการ ต่อมทอนซิลอักเสบ

เจ็บคอ  มีไข้ กลืนลำบาก เบื่ออาหารร่วมกับต่อมน้ำเหลืองที่คอโตโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนทางภูมิคุ้มกัน เกิดภายหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตร็ปโตคอคคคัส   จะทำให้เกิดโรคหัวใจ  (Rheumatic Heart Disease )   และโรคไตอักเสบ (Postinfectious Glomerulonephritis)

หากต่อมทอนซิลที่โตมากๆ จะรบกวนการนอน ทำให้นอนกรน นอนหลับไม่สนิท บางครั้งรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย  และหากเป็นในเด็ก จะส่งผลให้เด็กโตช้า  มีผลต่อการเรียน และในรายที่เป็นมากๆ จะมีปัญหาหัวใจและโรคปอดตามมา

ในรายที่เป็นมากๆ  มักจะพบมีต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย นอกจากนี้ การที่หายใจทางปากเป็นเวลานานๆ จะทำให้โครงหน้าเปลี่ยนไป กระดูกส่วนกลางของใบหน้าเจริญน้อยลง มีการสมฟันที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีผลไปตลอดชีวิตของเด็ก

การรักษา

การรักษาจะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรีย (ควรปรึกษาแพทย์)   และผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ,ทานอาหารอ่อน  หากอ่อนเพลียมากแพทย์อาจให้น้ำเกลือและนอนพักในโรงพยาบาล ในกรณีที่มีการอักเสบบ่อยครั้ง  แพทย์มักแนะนำให้ตัดทอนซิลออก ซึ่งจะทำกัน ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอาการเจ็บคอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ติตต่อกัน ตาม American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery ทั้งนี้หากผู้ป่วยยัง ไม่มีอาการเจ็บคอเรื้อรังตามที่กล่าวมา การผ่าตัดก็ยังไม่มีความจำเป็น แต่ควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงและติดตามอาการไปก่อน

2. เกิดฝีรอบๆต่อมทอนซิล (Peritonsillarabcess) ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะให้หารอักเสบเสียก่อน และหลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน จึงมาพบแพทย์เพื่อ พิจารณาการผ่าตัดอีกครั้ง

3. ต่อมทอนซิล 2 ข้าง มีขนาดไม่เท่ากัน และสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่ต่อมทอนซิล

4. ต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่มากจนทำให้เกิดอาการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ เกิดอาการ นอนกรน

ต่อมทอลซิล

การผ่าตัดต่อมทอนซิล

ในกรณีที่ต่อมทอนซิลมีการอักเสบบ่อยครั้ง ผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ตัดทอนซิลออก  หลายคนมีคำถามว่า  หากตัดออกแล้ว จะมีผลต่อระบบการป้องกันโรคของร่างกายอย่างไร  แพทย์ได้อธิบายว่า ในร่างกายคนเรามีหลายระบบที่ช่วยในการป้องกันเชื้อโรค หากเราตัดต่อมทอนซิลออก จะไม่มีผลกระทบต่อระบบการป้องกันโรคแต่อย่างใด มีรายงานการศึกษาวิจัย พบว่า หลังจากตัดต่อมทอนซิลออกแล้ว ภูมิคุ้มกันจะลดลงชั่วคราว แต่ไม่พบว่าเด็กติดเชื้อบ่อยขึ้นกว่าปกติ

นอกจากนี้ที่บริเวณคอยังมีต่อมน้ำเหลืองอีกหลายร้อยต่อม ซึ่งจะช่วยกันทำงานหลังจากตัดต่อมทอนซิลไปแล้ว    ดังนั้นถ้ามีอาการตามข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด การผ่าตัดก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล

  1. ต่อมทอนซิลมีการอักเสบเรื้อรังและบ่อยครั้ง มีอาการเจ็บคอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ซึ่งจำนวนครั้งที่ต่อมทอนซิลอักเสบที่ผู้ป่วยควรเริ่มพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดตาม  American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery คือ เจ็บคอมากกว่า 6 ครั้งต่อปี หรือ 5 ครั้งต่อปีโดยเป็น 2 ปีติดต่อกัน    หรือ 3 ครั้งต่อปีโดยเป็น 3 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้หากผู้ป่วยยังไม่มีอาการเจ็บคอเรื่อรังตามที่กล่าวมา   การผ่าตัดก็ยังไม่มีความจำเป็นแต่ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและติดตามอาการไปก่อน

2. ต่อมทอนซิลมีการโตขึ้นมากจนมีผลกระทบต่อการหายใจหรือเกิดอกาารนอนกรน

3. สงสัยว่าเป็นมะเร็งที่ทอนซิล หรือ ต่อมทอนซิล 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน

  1. มีภาวะแทรกซ้อนจนลุกลามไปยังหูชั้นกลาง ในปัจจุบัน การผ่าตัดต่อมทอนซิล ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย  และมีการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถตัดทอนซิลออกและสามารถห้ามเลือดไปในตัวได้ด้วย โดยที่ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงบาดเจ็บน้อยที่สุด, เสียเลือดในการผ่าตัดน้อย ,เจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย,พักฟื้นและแผลผ่าตัดหายได้เร็วผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วหลังผ่าตัด และเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดไม่สูงมาก ตัวอย่างของเทคนิค ดังกล่าว ได้แก่ การผ่าตัดทอนซิลโดยใช้คลื่นวิทยุ (Radiofrequency tonsillectomy) และการผ่าตัดทอนซิลโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Harmonic scalpel)


1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
th@thonburihospital.com
http://thonburihospital.com/2015_new/
https://www.facebook.com/thonburihospitalclub
https://www.instagram.com/thonburi_hospital/

 

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้