สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลธนบุรี “นิ้วล็อค”

สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลธนบุรี “นิ้วล็อค” 

นิ้วล็อค

เกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือถูกจำกัด ทำให้รู้สึกเสมือนการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือติดขัด

สาเหตุ

       เส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือเลื่อนไปมาได้โดยผ่าน “อุโมงค์”ที่ช่วยให้เส้นเอ็นอยู่ในตำแหน่งระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว

                เมื่อมีการระคายเคือง เส้นเอ็นอาจจะหนาตัวมากขึ้นและทำให้เส้นเอ็นเคลื่่อนผ่าน “อุโมงค์” ดังกล่าวได้ยากมากขึ้น ร่วมกับอุโมงค์ที่ช่วยรักษาตำแหน่งของเส้นเอ็น มีการหนาตัวมากขึ้นทำให้รูลอดมีขนาดเล็กลง

                เมื่อคุณงอนิ้วมือ เส้นเอ็นที่หนาตัว (ลูกศรสีแดง) อาจจะติดได้ ทำให้นิ้วของคุณเหยียดออกไม่ได้ และเมื่อคุณออกแรงมากขึ้นก็จะ “ดีด” ออกทำให้เส้นเอ็นสามารถ “ติด” ได้เป็นครั้งคราว เมื่อคุณออกแรงเพิ่มอีกนิดคุณอาจจะรู้สึกได้ว่านิ้วมือมีการ “ดีด” ออกได้ เมื่อเส้นเอ็นนั้นสามารถลอดผ่านรูได้สำเร็จ

                สาเหตุนั้นยังไม่ทราบ แต่ผู้หญิงนั้นเกิดได้มากกว่าผู้ชาย และมักเกิดขึ้นในอายุ 40-60 ปี และมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน หรือเป็นโรคปวดข้อรูมาตอยด์

1401248072_2014_04_23_070611_0_mdAsHBbJ

อาการ

                อาการของนิ้วล็อคอาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่เคยมีการบาดเจ็บที่มือมาก่อน อาจจะรู้สึกเหมือนมีก้อนที่กดเจ็บใต้ฝ่ามือ รู้สึกเหมือนนิ้วติดเวลางอแล้วเหยียดออก และพอออกแรงเพิ่มอีกนิดก็ดีดออก ถ้าคุณไม่ขยับนิ้วมือเลยอาจมีอาการข้อติดได้ ถ้าเป็นรุนแรงนิ้วอาจไม่สามารถเหยียดออกได้เลย บางครั้งอาจเป็นมากกว่า 1 นิ้ว ผู้ป่วยเบาหวาน มักจะเป็นหลายนิ้ว

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ โดยการตรวจมือของคุณ ไม่จำเป็นต้องรับการตรวจพิเศษอย่างอื่น ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์

การรักษา

การใช้ยา ถ้าอาการเป็นไม่รุนแรง การพักก็จะช่วยในการรักษา ยาแก้ปวดอาจสามารถซื้อได้จากร้านขายยา แพทย์อาจใช้วิธีการฉีดยาจำพวกสเตอรอยด์เข้าไปที่มือของคุณ จะช่วยได้ชั่วคราว และอาจจำเป็นต้องฉีดหลายครั้ง

การผ่าตัด

นิ้วล็อคไม่ใช่โรคที่อันตราย ให้คุยกับแพทย์โรคกระดูกและข้อ ถ้านิ้วของคุณติดแล้วไม่สามารถเหยียดออกได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด เป้าหมายของการผ่าตัดคือเพื่อขยายอุโมงค์ เพื่อให้เส้นเอ็ดสามารถเลื่อนผ่านไปมาได้สะดวกมากขึ้น การผ่าตัดทำโดยผ่านทางบาดแผลลงไปที่ฝ่ามือใกล้กับนิ้วมือเล็กๆ โดยทั่วไปแล้วคุณสามารถขยับนิ้วได้ทันทีหลังผ่าตัด

อาจมีอาการปวดมือได้ แต่ให้ยกมือขึ้นสูงหลังผ่าตัด ก็จะช่วยลดบวมได้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ก็จะหายเป็นปกติ ถ้าคุณมีข้อติดให้ทำกายภาพบำบัด
Logo_TH1_New
โรงพยาบาลธนบุรี
Hotline: 1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
E-mail: thonburihospital1@gmail.com
Website: www.thonburihospital.com/2015_new
Facebook: https://www.facebook.com/thonburihospitalclub
IG: https://www.instragram.com/thonburi_hospital

 

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้