การฉีดซีเมนต์ รักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบในโรคกระดูกพรุน

กระดูก-01

กระดูกพรุน

การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง  (vertebroplsasty / kyphoplasty)

เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังหัก หรือ  ทรุด  และภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปอันเนื่องมาจากกระดูกพรุนเป็นหลัก รวมถึงผู้ป่วยที่มีเนื้องอก บริเวณไขสันหลังและไขสันหลังบาดเจ็บด้วย  ในกลุ่มที่มีอาการปวดมาก และ    ลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ  ก่อนที่จะรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจ    MRI (เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อช่วยระบุตำแหน่ง นอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท

       การฉีดซีเมนต์ไปยังตำแหน่งที่มีการหักยุบของกระดูกสันหลัง โดยซีเมนต์จะเข้าไปแทรกตามกระดูกทำให้กระดูกที่หักยึดติดกันไม่ขยับ และยังมีความแข็งแรงช่วยรับน้ำหนักตัวได้ ทำให้ไม่มีอาการปวดเวลาขยับตัว หรือ เวลา นั่ง ยืน เดิน การรักษาแบบนี้มีความเสี่ยงน้อยและสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล  แต่ต้องทำที่ห้องผ่าตัด  อีกทั้งเวลาทำผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ เพราะวิสัญญาแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการฉีดยาชา หรือ  ดมยาสลบตามความเหมาะสมใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที และผู้ป่วยต้องนอนคว่ำตลอดการฉีดหลังการฉีดผู้ป่วยต้องนอนหงายเป็นเวลา 4  ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์ที่ฉีดไปแข็งตัวดี จากนั้นผู้ป่วยสามารถลุกนั่ง ยืน เดิน ได้ โดยทั่วไปอาการปวดจะดีขึ้นมากหรือในบางรายจะไม่มีอาการปวดเลย

          >> ในผู้ป่วยที่ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือ ยาละลายลิ่มเลือด ควรงดยาก่อนทำเป็นเวลา 1 สัปดาห์ <<<

สำหรับผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาโดยวิธีนี้ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อ ภาวะเลือดเข็งตัวยาก โรคหัวใจและปอดที่มีอาการมาก  แพ้ซีเมนต์หรือสารทึบรังสี เป็นต้น
โดยโรคกระดูกพรุน พบได้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง ทำให้กระดูกขาดความแข็งแรง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักแม้เกิดจากแรงเพียงเล็กน้อยได้ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง  เกิดหลังจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน เช่น นั่งรถตกหลุม  นั่งกระแทกบนโซฟา หรือ ก้มยกของ เป็นต้น และในบางรายอาจไม่พบเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ ผู้ป่วยเพียงแต่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ก็สามารถเกิดภาวะกระดูกสันหลังหักยุบได้

อาการเบื้องต้น-01 

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณกลางหลังตรงตำแหน่งที่มีการหักยุบ โดยอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลาขยับ เช่น พลิกตะแคงตัวในท่านอน ลุกจากนอนมานั่ง   ลุกจากนั่งมายืน บิดตัว ก้ม และเงย เป็นต้น เนื่องจากมีการขยับและเสียดสีกันของกระดูกที่หัก  นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเวลาที่กระดูกสันหลังรับน้ำหนัก เช่น ท่านั่ง  ยืน หรือ เดิน อาการปวดหลังอาจมีเพียงเล็กน้อย  ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้  หรือปวดมากจนผู้ป่วยไม่สามารถลุกนั่ง ยืน  หรือ  เดินได้ ต้องนอนอยู่ตลอดเวลา หากมีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังอาจไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท จะทำให้มีอาการชา อ่อนแรงของขา หรือ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ หรือ ปัสสาวะได้

การรักษาเบื้องต้น-01

อาการเบื้องต้นโรคกระดูกพรุน
การพักโดยการจำกัดกิจกรรม ให้ผู้ป่วยนอนพักในระยะแรก และ ลุกนั่ง  ยืน  เดิน  เท่าที่จำเป็น  เช่น ลุกนั่งทานข้าว  ยืน  เดินไปเข้า ห้องน้ำ เป็นต้น  ใส่เสื้อพยุงหลังที่เหมาะสม โดยทั่วไปต้องใช้ตัวที่ยาวจากสะโพก ถึงไหล่ จึงจะสามารถประคองกระดูกที่หัก และลดการเคลื่อนไหวของกระดูกที่หักได้ ทำให้มีอาการปวดน้อยลง และลดการยุบเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังได้ โดยให้ใส่ตลอดเวลาที่มีการทำกิจกรรม เช่น ลุกนั่ง ยืน เดิน เป็นต้น สามารถถอดออกได้เวลานอน  หรือ อาบน้ำ
>>ให้ยาแก้ปวด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้
>> ให้แคลเซี่ยม และ วิตามินดี เพื่อช่วยการสมานตัวของกระดูก

>> ให้ยาฮอร์โมน Calcitonin ชนิดพ่นจมูก ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดจากกระดูกสันหลังหักยุบ และยังช่วยในการสมานตัวของกระดูกด้วยนอกจากนี้ผู้ป่วยควรบริหารแขนขา โดยการขยับแขนขาอยู่เสมอแม้ในท่านอนเพื่อลดการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อจากการใช้งานที่น้อยลง และช่วยการไหลเวียนโลหิตด้วย และบริหารปอดโดยการหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆ เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบจากการนอนนาน

ธนบุรี1
ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลธนบุรี1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 0-2421-3870 (เวลา 08.00-22.00น.)
HOT LINE 1645 กด 1 หรือ 0-2487-2000 ต่อ 7470-1
เปิดบริการทุกวัน
Email : th@thonburihospital.com
www.thonburihospital.com
แชร์:

ใส่ความเห็น