การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร  

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร คือการตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของสตรีทั้งภายนอกและภายในได้แก่ อวัยวะเพศภายนอก,ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ อวัยวะดังกล่าว

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร
–  เพื่อตรวจค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ ทั้งที่มีและไม่มีอาการแสดง เมื่อพบโรคแล้ว   จะได้รับการรักษา, ป้องกันการลุกลามของโรคและติดตามอาการอย่างเหมาะสม
–  เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากระบบอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

* โรคบางโรคเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีอาการแสดงให้ทราบก่อนได้ นอกจากต้องตรวจภายใน เช่น ก้อนเนื้องอกที่มดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก เป็นต้น

อาการใดบ้างที่เราควรมาตรวจภายใน
–  เลือดออกผิดปกติ เช่น ออกกะปริบกะปรอย, ปริมาณมาก มีลิ่มเลือดปน, ระดูมานานกว่า  7วัน ระยะรอบประจำเดือน มาห่างน้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 35 วัน, เลือดออก
–  ตกขาว มีปริมาณมากขึ้น สีเปลี่ยนไป เช่น สีเขียว, สีเหลือง มีกลิ่นแรงขึ้น ลักษณะเปลี่ยน ไปเป็นลักษณะมูกสีขาวข้นคล้ายแป้ง
–   ปวดท้องน้อย ทั้งที่สัมพันธ์กับช่วงมีระดูหรือไม่มีระดู, ปวดหน่วงท้องน้อย
–   พบผื่น, ติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศภายนอก, แสบขัดในช่องคลอด
–   คลำพบก้อนที่ท้องน้อย

เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อใด
เราควรเริ่มตรวจภายในเมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตามและร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  • เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วอย่างน้อย 3 ปี
  • สามารถหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ เมื่ออายุ 65-70 ปี โดยที่ผลการตรวจ คัดกรองปกติ 3 ครั้ง ใน 10 ปี ก่อนหยุดตรวจ
  • ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้ว ร่วมกับมีผลการตรวจก่อนหน้าปกติ
  • ผู้หญิงที่เคยตรวจพบความผิดปกติแล้ว ควรตรวจสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่ได้รับ HPV vaccine แล้วยังคงต้องตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine
  • การตรวจภายในนั้น ควรตรวจทุก 1 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น อาจตรวจได้ทุก 3 ปี

 การตรวจภายใน มีการตรวจอะไรบ้าง

  • การดูและคลำอวัยวะภายนอกและภายในอุ้งเชิงกราน
  • การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีหลายวิธี Pap smear, Liquid base cytology, HPV test ปัจจุบันวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติที่ดีที่สุด คือการตรวจ Pap smear หรือ Liquid base cytology ร่วมกับ HPV test
  • การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยการอัลตราซาวน์ช่องท้องด้านล่าง เป็นต้น

Logo_TH1_New
โรงพยาบาลธนบุรี
Hotline: 1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
E-mail: thonburihospital1@gmail.com
Website: www.thonburihospital.com/2015_new
Facebook: https://www.facebook.com/thonburihospitalclub
IG: https://www.instragram.com/thonburi_hospital

 

แชร์:

บทความที่คุณอาจสนใจ

วิตามินอีและวิตามินซีเป็นวิตามินช่วยลดการอักเสบ
หลังจากทำศัลยกรรมมักเกิดอาการบวมและช้ำจากการอักเสบได้ บทความนี้จึงรวมวิธีลดบวม และอาหารเสริมลดการอักเสบมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน
ซิงก์ (Zinc) หนึ่งในวิตามินที่สามารถบำรุงเส้นผม และสุขภาพคุณผู้ชายได้เป็นอย่างดี อยากรู้ว่าซิงก์นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ชายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ผิวแห้งมากจนแสบคัน ต้องทำไงดีเพื่อฟื้นฟูไม่ให้ผิวดูแห้งกร้าน? เสริมด้วยคอลลาเจน ตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ตึงกระชับผิว ศึกษาต่อได้ในบทความนี้