กระชาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Boesenbergia rotunda (L.) Manst. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Fingerroot, Chinese ginger และมีชื่อไทยอื่นๆว่า กะแอน ขิงทราย เป็นต้น นอกจากนี้ยังถูกเรียกว่ากระชายขาวหรือกระชายเหลือง จัดอยู่ในวงค์ขิงข่า (Zingiberaceae) มีลักษณะป็นเหง้าสั้น มีสักษณะอวบน้ำ รูปทรงกระบอก ตรงกลางพองกว่าส่วนหัวและท้าย ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อใบสีเหลือง มีรสเพ็ดร้อน ขม กลิ่นหอมฉุน พบสารในกลุ่มเฟลไวบอยด์ และสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย เช่น โบเชนเบอร์จินเอ (Boesanbergin A), พินอสตรอบิน (Pinostrobin), แพนดูราทินเอ (Panduratin A), แพนดูราทินบี (Panduratin B) แคมเฟอร์ (Camphor), คาร์ดามอมิน (Cardamonh) และสารอื่นๆอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบว่ากระชายอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ และบี อีกด้วย
“กระชายขาว” กับ Covid-19
การศึกษาวิจัยปัจจุบันพบว่า สารสกัดจากกระชายขาว นอกจากจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองแล้ว ยังพบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอีกด้วย มีรายงานการศึกษาวิจัย จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ ความก้าวหน้าของการค้นหายาต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจาก สารสกัดธรรมชาติและสมุนไพรที่เป็นอาหารของคนไทย จำนวน 121 ตัวอย่าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีสารสกัด จำนวน 6 ชนิดที่มีศักยภาพยันยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV-2 ที่ปริมาณความเข้มขันของยาในระดับน้อย ๆ และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ (ซึ่งผลดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบเทียบเคียงกับผลการยับยั้งของ FDA approwed drugs ได้แก่ ยา Nidosamide และยา Hydroxychloroquine แล้ว) โดยการศึกษาดังกล่าว พบสารสกัดจากสมุนไพร 2 ชนิด ที่สามารถยับยั้งการจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถึง 100% คือ สารสกัดจากขิง และกระชายขาว ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่าสารสำคัญจากกระชายขาวมีฤกธิ์แรงที่สุด โดยให้ฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดบริสุทธ์ฟ้าทะลายโจร 30 เท่า และแรงกว่าสารสกัดขิง 10 เท่า ซึ่งถือว่าดีที่สุดในบรรดาสารที่นำมาทดสอบทั้งหมด โดยสารสำคัญ 2 ชนิดหลักในกระชายขาวที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส คือ แพนดูเรทินเอ (Panduratin A) และ พินอสตรอบิน (Pimostrobin) ซึ่งการทดสอบนี้เป็นเพีงการวัจัยในหลอดทดลองเท่านั้น ในอนาคตจะมีการขยายผลการศึกษาสู่การทดสอบในสัตว์ทดลอง และการศึกษาวิจัยในมนุษย์ต่อไป
สารแพนดูเรทินเอ (Panduratin A) และ พินอสตรอบิน (Pimostrobin) ช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 และช่วยลดการอักเสบต่างๆที่จะเกิดขึ้นในร่างกาย ลดการเกิด oxidative stress และลดการเกิดภาวะ “cytokine storm” ได้
นอกจากนี้ข้อมูลการวิจัยของ Kanjanasirirat et al.,2020 ได้ทำการศึกษากระชายขาวในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดเอทานอลของเหง้ากระชายและสารแพนดูราทินเอ (Panduratin A) มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ในเซลล์เยื่อบุไตของลิงเขียวแอฟกัน ในระยะก่อนและหลังติดเชื้อ โดยมีฤทธิ์ต้านไวรัสในระยะหลังติดเชื้อดีกว่าอีกด้วย
สารสกัดจากกระชายขาวปลอดภัยต่อการบริโภค ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษของการรับประทานกระชาย รายงานสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสองชนิดจากกระชายขาวได้แก่ พินอสตรอบิน (Pinostrobin) และ พินอแซมบริน (Pinosambin) ไม่มีผลต่อการกลายพันธุ์หรือความเป็นพิษต่อหนูทดลอง
ปริมาณสารสกัดกระชายขาวที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน ยังไม่มีปริมาณที่แน่ชัดในการบริโภคเพื่อการป้องกันโควิด-19 ในมนุษย์ จากการประชุมหารือขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรกระชาย ครั้งที่สาม/2564 (1 เม.ย.2564) พบว่า เมื่อนำผลการศึกษาในสัตว์ทดลองมาวิเคราะห์และเทียบเป็นน้ำหนักมนุษย์แข็งแรงคนหนึ่ง 50-60 กิโลกรัม ต้องใช้สารสกัดกระชายวันหนึ่งประมาณ 1,250 มิลลิกรัม จึงจะช่วยในการกำจัดเชื้อโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานยังไม่มีรายงานปริมาณที่แน่ชัดในมนุษย์ต้องได้รับการศึกษาวิจัยและทดลองเพิ่มเติม
เสริมทัพภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินเสริมภูมิ
- วิตามินซี (Vitamin C)
นอกจากนี้วิตามินซียังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากความเครียดซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ภูมิคุ้มกัน และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้ จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเสริมวิตามินซีเป็นประจำช่วยลดระยะเวลาการเป็นหวัดได้ถึง 8% ในผู้ใหญ่ และ 14% ในเด็ก โดยปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้รับประทานเพื่อช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน คือ 1,000 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวันวิตามินซี จะช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด T-Lymphocyte เพื่อตอบสนองต่อเชื้อโรค และต่อต้านการอักเสบจากการติดเชื้อในร่างกายได้
- ซิงค์ (Zinc)
ซิงค์เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีส่วนช่วยในการกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวขาวชนิดที–เซลล์ (T-Cell) ให้พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค และยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
จากรายงานการศึกษาแบบสุ่มที่ควบคุมการเสริมสังกะสีในการรักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในเด็กไทยปี 2019 พบว่าในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 64 รายที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน (ALRIs) การรับประทานสังกะสี 30 มก. ต่อวันช่วยลดระยะเวลาการติดเชื้อทั้งหมดและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 2 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
การขาดแร่ธาตุสังกะสีจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างมาก ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อและง่ายต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้มากขึ้น เราจึงควรรับประทานแร่ธาตุสังกะสีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 15 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานได้สูงสุดได้ไม่เกิน 45 มิลลิกรัมต่อวัน
- วิตามินดี (Vitamin D)
ในการทบทวนการศึกษาแบบสุ่ม ในคน 11,321 คนในปี 2019 การเสริมด้วยวิตามินดีช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้ที่ขาดวิตามินดีได้อย่างมีนัยสำคัญ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในผู้ที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายที่เพียงพอ โดยปริมาณวิตามินดีที่แนะนำให้รับทานต่อวันอยู่ในช่วง 400 -800 IU จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ วิตามินดี เป็นวิตามินที่อยู่ในเซลล์ต่างๆ หลายชนิดรวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวโมโนไซต์และมาโครฟาจซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญในการช่วยลดการอักเสบ ต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย การมีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนรวมถึงไข้หวัดใหญ่และโรคหอบหืดจากภูมิแพ้
ใครที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง กระชายขาวก็เป็นสมุนไพรทางเลือกที่ดีอีกตัวหนึ่งที่ช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้การรับปะทานวิตามินต่างๆเช่น วิตามินซี ซิงค์ วิตามินดี 3 ก็ช่วยช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นด้วย อย่าลืมดูแลสุขภาพกันนะคะ เพราะชีวิตดี เริ่มต้นที่สุขภาพ ด้วยความห่วงใยจาก_Vistra Finngerroot Extract
Reference
1. คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทยในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. (2563). กระชาย (KRA CHAI). วารสารการแพทย์แผนไทยและการาแพทย์ทางเลือก, 18 (2), 443-437.
2. ดวงแก้ว ปัญญาภู. (2563). กระชายกับศักยภาพการพัฒนาเป็นยาต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19. จุลสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 3 (7), 3.
3.วลัญช์ สุภากร. 2563. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ เผยสัญญาณบวกสู้‘โควิด-19’โดย‘กระชาย’จากห้องทดลอง [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943256 (26 สิงหาคม 2564).
- Adrian R Martineau et al., Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory infections: individual participant data meta-analysis, Health Technol Assess., 2019 Jan;23(2):1-44.
- Barbara Prietl et al., Vitamin D and Immune Function, Nutrients. 2013 Jul; 5(7): 2502-2521.
- Mama key et al., Evaluation of Evidence Relate to Medical Use and Health Claims of Fingerroot. Siriraj Medical Bulletin 2021; 14(2) : 61-72.
- Harri Hemila and Elizabeth Chalker, Vitamin C for preventing and treating the common cold, Cochrane Database Syst Rev., 2013 Jan 31;(1):CD000980.
- Kanjanasirirat et al. Hight-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component panduratin A as anti-SARS-Cov-2 agents. Scientific Reports.,(2020) 10:19963.
- Sanguansak Rerksuppaphol and Lakkana Rerksuppaphol, A randomized controlled trial of zinc supplementation in the treatment of acute respiratory tract infection in Thai children, Pediatr Rep., 2019 May 23; 11(2): 7954.
- Eng-Chong et al., Boesenbergia rotunda : From Ethnomedicine to Drug Discovery. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. Volume 2012, Article ID 473637, 25 pages.