เมื่อถึงวัยเข้าเลขสี่ หลายอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยเดิน วิ่ง ทำกิจกรรมโลดโผน ผจญภัย ก็คงต้องปรับเปลี่ยน เพราะอาจมีผลกระทบต่อมวลกระดูกได้ ยิ่งเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่วนใหญ่ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใส่ใจในการดูแล สุขภาพกันมากขึ้น เพราะร่างกายคนเราต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม จึงควรที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง นม โยเกิรต์ ปลาตัวเล็กตัวน้อย เต้าหู้ ถั่วเหลือง เป็นต้น ลด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน น้ำอัดลม ละ อาหารเค็มจัด อาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อป้องกันการลดลงของแคลเซียม ที่เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมมวลกระดูกได้ และควรหมั่นออกกำลังกายที่ไม่หักโหมมาก นัก เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ
สำหรับผู้สูงอายุ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย เมื่อมวลและความ หนาแน่นของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุน มีโอกาสเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ โดยเฉพาะกระดูก สันหลัง ข้อมือ สะโพก กระดูกเชิงกราน และ ต้นแขน ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง หาทางป้องกัน ตั้งแต่เนิ่นๆ ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทาง ตรวจวัดความหนาแน่นของ กระดูกโดยใช้เครื่องวัดมวลกระดูก เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และหากมีปัญหาที่ต้องรีบ แก้ไขจะได้หาทางรักษาอย่างถูกวิธีด้วยเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการรักษา
ด้วยประสบการณ์ของทีมแพทย์เฉพาะทางของ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาทุกอาการ ไม่ว่าจะเรื่องกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม ข้อมือ ข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือเล่นกีฬา รวมถึงส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องจาก กระดูกและข้อ ด้วยการวินิจฉัยอย่างถ้วนถี่ วางแผนการรักษาอย่างมีขั้นตอน ใช้เทคโนโลยีที่ ครอบคลุม เข้าถึงในการรักษา และเหมาะสมในแต่ละราย เช่น ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ( Magnetic Resonance Imaging ) การผ่าตัดส่องกล้อง ทำให้แผลขนาดเล็ก หรือ กายภาพบำบัด พร้อมบริการให้คำปรึกษาด้าน ค่าใช้จ่ายเพื่อความสบายใจ อุ่นใจในทุกการรักษา
นพ.อาศิส อุนนะนันท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลธนบุรี
มิติใหม่ในการรักษา ก้าวหน้าด้วยคุณภาพ
02 412 0020