ทำความรู้จักรอยคล้ำใต้ตา 3 ประเภท และวิธีรับมือ
รอยคล้ำใต้ตา ทำให้สาวๆ ดูเหนื่อยล้า หรือดูเหมือนนอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอตลอดเวลา สาเหตุของการเกิดรอยคล้ำใต้ตา เนื่องจากลูกตาของเรานั้นถูกหุ้มด้วยชั้นไขมันนุ่มๆ ทำหน้าที่เหมือนเบาะกันกระแทก และมีเปลือกตาทำห้าที่รองรับลูกตาเอาไว้ ซึ่งเปลือกตาเป็นผิวหนังส่วนที่บางที่สุดในร่างกาย มีต่อมไขมันน้อย จึงเป็นส่วนที่แห้งง่าย ในขณะที่ผิวหนังบริเวณแก้มมีความหนา มีไขมันใต้ผิวมากกว่า จึงทำให้เกิดเส้นรอยต่อระหว่างขอบตาล่างกับแก้ม และกลายเป็นรอยคล้ำใต้ตาในที่สุด
นอกจากนี้เมื่อผิวหนังถูกเสียดสี ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เม็ดสีฝังตัว และกลายเป็นรอยคล้ำใต้ตาได้ อีกทั้งผิวบริเวณเปลือกตาจะค่อยๆ บางลงตามวัย ส่งผลให้รอยคล้ำเด่นชัดขึ้น ดังนั้นสาวๆ ควรจะทำความรู้จักกับชนิดของรอยหมองคล้ำกันก่อน และหาวิธีดูแลที่ใช้ได้ผลตั้งแต่เนินๆ ซึ่งรอยคล้ำใต้ตานั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามนี้เลย
1.รอยคล้ำสีน้ำเงิน เกิดจาก เส้นเลือดอุดตัน
ลักษณะ บริเวณรอบดวงตาเป็นจุดที่เส้นเลือดรวมตัวกัน เมื่อตาล้า เลือดจะไม่ไหลเวียน และปรากฏเป็นรอยคล้ำสีน้ำเงินที่ผิวเปลือกตา คนที่มีผิวขาวหรือผิวบางจะยิ่งมองเห็นได้ชัด มักเกิดขึ้นกับคนที่การไหลเวียนของเลือดไม่ดี เช่น คนที่มีอาการมือเท้าเย็น
การดูแลรักษา เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินซี หรือเรตินอล ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณคอลลาเจน และเวลาแต่งหน้าให้ปกปิดรอยคล้ำด้วยคอนซีลเลอร์
2.รอยคล้ำสีดำ (อาการบวม ความหย่อนคล้อย)
ลักษณะ ผิวหนังบริเวณขอบตาล่างซึ่งบางอยู่แล้ว จะยิ่งบางลงตามวัย พร้อมหับสูญเสียความยืดหยุ่นด้วยเมื่อไม่สามารถรองรับไขมันใต้ตาได้ ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจึงนูนออกมา ทำให้เกิดเงาและการมองเห็นเป็นรอยคล้ำ เรียกว่ารอยคล้ำสีดำ ซึ่งเป็นรอยคล้ำที่พบมากที่สุด
การดูแลรักษา รอยคล้ำสีดำไม่ใช่กระฝ้า จึงไม่สามารถปกปิดด้วยคอนซีลเลอร์ เนื่องจากการจากความหย่อนคล้อยของผิว จึงต้องดูปลด้วยการเพิ่มปริมาณคอลลาเจน คนที่บวมน้ำง่ายควรเลี่ยงการกินเค็ม หรือเครื่องดื่มเย็นๆ รอยคล้ำสีดำรักษายาก โดยมากต้องใช้วิธีผ่าตัดศัลยกรรมตามคลินิกผิวหนังและความงาม
3.รอยคล้ำสีน้ำตาล (กระ/ฝ้า/ความหมองคล้ำ)
ลักษณะ เกิดจากกระเล็กๆ ใต้ตารวมตัวกัน จนเห็นเป็นรอยคล้ำสีน้ำตาล คนที่ชอบขยี้ตา หรือเป็นผื่นแพ้รอบดวงตา เคราตินบริเวณเปลือกตาจะก่อตัวหนา และเปลี่ยนเป็นรอยคล้ำในที่สุด
การดูแลรักษา ใช้วิธีลอกหน้าผลัดเซลล์ผิวเช่นเดียวกับการดูแลรักษากระ/ฝ้า อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังจะดีที่สุดเลยค่ะ
สาระดีๆจาก : Perla